สมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในกลุ่มเครือข่ายปากเกร็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ สมพงษ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • กฤษฎา บุญญะสิทธิ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • อำนาจ ศรีแสง มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

สมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู, สถานศึกษากลุ่มเครือข่ายปากเกร็ด

บทคัดย่อ

 การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายปากเกร็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู จำนวน 226 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกนแล้วสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ระดับชั้นเรียนเป็นชั้น และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่

ผลการศึกษาพบว่า

  1. สมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายปากเกร็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
  2.  ครูที่มีวุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีสมรรถนะการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายปากเกร็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2549ก). สมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2549ข). ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2549-2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขปรับปรุง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

กานต์นภา แสงเทพ. (2556). สภาพการทำงานเป็นทีมของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาในจังหวัดเพชรบูรณ์. ใน ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชัย โกศลธนากุล. (2549). กลยุทธ์การสร้างทีมเวิร์คสู่ความสำเร็จ. ใน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสาร, 14(4), 15-20.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ชุลีพร ใช้ปัญญา. (2550). สมรรถนะของครูสุขศึกษาที่สอนระดับประถมศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. ใน ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทรงวุฒิ ทาระสา. (2549). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

นพภัสสร โกสินทรจิตต์. (2548). ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. ใน ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพ์ลภัส ถ้วยอิ่ม. (2553). การทำงานเป็นทีมของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ประจวบ แจโพธิ์. (2556). ความคิดเห็นของครูต่อบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสำนักงานเขตบึงกุ่ม สังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัชนีกร สมทรัพย์. (2550). การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทานประจำปีการศึกษา 2547-2548 ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (2560). ข้อมูลสารสนเทศ ปี 2560. เข้าถึงได้จาก: http://www.nonedu2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2550). หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะสายงานการสอน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุณวดี รื่นรมย์. (2553). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. ใน งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจฉรา ชุนณะวงค์. (2553). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อินทิรา อินทโชติ. (2555). การศึกษาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. ใน ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพโรจน์ บาลัน. (2551). ทักษะการบริหารทีม. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17