การนิเทศการศึกษางานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนหอวังปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4

ผู้แต่ง

  • พนิดา ตระหง่าน มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • นรเศรษฐ์ ชุมวงศ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ฐิตินันท์ เสริมสาธนสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การนิเทศการศึกษา, งานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการนิเทศการศึกษางานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน หอวังปทุมธานี และ 2) เปรียบเทียบการนิเทศการศึกษางานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนหอวังปทุมธานี จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครู จำนวน 130 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้โรงเรียนเป็นชั้นในการสุ่มและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. การนิเทศการศึกษางานวิชาการของผู้บริหาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
  2. ครูที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

กมล ภู่ประเสริฐ. (2544). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ทิปส์พับลิเคชั่น.

ชุติมา เฟื่องฟู. (2554). สภาพและปัญหาการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนในเขตเทศบาลนครนนทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พิสมัย นามอินทร์. (2555). ความต้องการการนิเทศงานวิชาการของครูในสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

มานะ ทองรักษ์. (2549). การบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธารอักษร จำกัด.

สุรศักดิ์ จำปาหอม. (2550). ความต้องการการนิเทศการศึกษาของครูในโรงเรียนเทศบาลนครอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุณีย์รัตน์ วีระสุนทร. (2553). การศึกษาสภาพการนิเทศภายในตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17