บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางกรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
คำสำคัญ:
การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน, บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอบางกรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 148 คน ได้มาโดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกนแล้วสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ระดับชั้นเรียนเป็นชั้น และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
- บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอบางกรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- ครูที่มีระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางกรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรีเขต 1โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). แนวคิดและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ พื้นฐานการปฏิรูปการศึกษาเพื่อประชาชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ. (2542). กระบวนการเรียน และยุทธศาสตรการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอรกรุ๊ปแมนเนจเมนท จํากัด.
คชาภรณ์ ฉันทประเสริฐวุฒิ. (2550). บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูและผู้บริหารสังกัดกรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงเทพใต้. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชมชล นาพิมพ์. (2553). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธวัชชัย ยวดยิ่ง. (2555). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. ใน งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีระพงษ์ บุตรดี. (2556). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนในจังหวัดนครพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22. ใน การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนครพนม.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล. (2543). การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พัชวิชญ์ โฮงยากุล. (2552). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
รังสรรค์ แสนบัณฑิต. (2549). บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอบางประกง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา.
วันเพ็ญ ถาวรกุล. (2556). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนดีศรีตำบลปทุมธานีเขต 1. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
สมควร เหล่าประเสริฐ. (2550). บทบาทของผู้บริหารด้านการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สุธาภรณ์ วรกาญจนกุล. (2556). กระบวนการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ พธ.ม.พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุวรรณลี ตามชู. (2554). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนในอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุวิมล วองวาณิช. (2545). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เหรียญ บุญสิน. (2547). การศึกษาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษา อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อำรุง จันทวานิช. (2543). แนวคิดและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ. พื้นฐานการปฏิรูป. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.