การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาในกลุ่มนนท์วัฒนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
คำสำคัญ:
การบริหารงานบุคคล, สถานศึกษาในกลุ่มนนท์วัฒนะบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา ในกลุ่มนนท์วัฒนะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากร จำนวน 315 คน ได้มาโดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจชี่ และมอร์ และสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้โรงเรียนเป็นชั้น และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลกาวิจัยพบว่า
- การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา ในกลุ่มนนท์วัฒนะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- ครูและบุคลากรที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา ในกลุ่มนนท์วัฒนะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2555). พัฒนาคนดีให้เป็นคนเก่งในสังคม เพื่อดูแลชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็งและยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า.
พระธนากร วชิรธมฺโม (โพธิ์วัน). (2553). การบริหารงานบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตบางกอกใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาถาวร กลฺยาณเมธี (บุญสอน). (2556). การบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเส็ง ปภสฺสโร (วงษ์พันธุ์เสือ). (2555). การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
มาน รังสิโยกฤษฎ์. (2540). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: สวัสดิการสำนักงานก.พ.
มานนท์ จันทร์เจียม. (2558). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มภูเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มาหะมะ ดีมาดี. (2556). ศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2552). การพัฒนาตัวชี้วัดสถานภาพทางการศึกษาในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเดช สีแสง. (2545). คู่มือการบริหารโรงเรียน สถานศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุธีระ ทานตวนิช. (2545). การบริหารงานโรงเรียนและการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
เสถียรภาพ พันธ์ไพโรจน์. (2543). การจัดการและทรัพยากรมนุษย์. นนทบุรี: ไทยวัฒนาพานิช.
สุดา สุวรรณาภิรมย์. (2548). เอกสารคำสอนวิชาการบริหารงานบุคคล (Personal Management). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วันนี ศิรินนท์. (2544). สภาพการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตภาคเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วราพร พันธ์โภคา. (2556). ความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. ใน ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970, Autumn). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.