ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลในการบริหารงานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ประสิทธิผลในการบริหารงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 2) ประสิทธิผลในการบริหารงานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 70 คน และครู จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลในการบริหารงานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
- ประสิทธิผลในการบริหารงานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสัมพันธ์กันในทางบวกและอยู่ในระดับสูง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
จารุณี มุขพรหม. (2545). ความมีประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตร ส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาสารคาม, 3(1), 23-24.
ประคอง กรรณสูตร. (2534). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ สมพงษ์ธรรม. (2538) การวิเคราะห์ภาวะผู้นำของศึกษาธิการจังหวัด ที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลองค์การสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงษ์สวัสดิ์ วงศ์ประชา. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับผลสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสามัญศึกษา จังหวัดสกลนคร. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สถาบันราชภัฎสกลนคร.
ภักดี สมคะเณย์. (2543). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับผลสำเร็จในการดำเนินงานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดมุกดาหาร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันราชภัฏสกลนคร.
วิโรจน์ สารรัตนะ และอัญชลี สารรัตนะ. (2545). ปัจจัยทางการบริหารกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. บริษัทอักษราพิพัฒน์จำกัด.
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2545). "ประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา: คุณลักษณะสำคัญของผู้บริหารยุคโลกาภิวัตน์" วิชาการ, 5 (1) : 7-13.
ศุภชัย โถบำรุง. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักการประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สมหวัง มังธานี. (2547). สุขภาพองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อภิวรรณา แก้วเล็ก. (2542). ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2548). หลักการและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: เอสดีเพรส.
Bass. (1985). Leadership & Performance Beyond Expectations. Newyork: FreePress.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing(5th ed.). New York : Harper Collins. Publishers.( pp.202-204).
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination of sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.