การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา ผ่องพิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • กฤษดา ผ่องพิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การทำงานเป็นทีม, กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, มัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาระดับของการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ 3) เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ของการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้คือครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 361 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน สหสัมพันธ์พหุคูณ และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบวิธีการคัดเลือกเข้า

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ระดับการทำงานเป็นทีมของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
  2. ระดับการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
  3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีค่าอยู่ระหว่าง 0.80-0.97 และเมื่อพิจารณาการทำงานทีมและการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่าการทำงานเป็นทีมในด้านทีมข้ามสายงานมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.97
  4. การทำงานเป็นทีมส่งผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเรียงลำดับมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านทีมเสมือนจริง รองลงมาคือด้านทีมบริหารตนเอง และด้านทีมแก้ปัญหา ตามลำดับ มีอิทธิพลในการพยากรณ์การดำเนินงานกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ ได้ร้อยละ 96.50 (Adjust R2= 0.96) โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนายเท่ากับ 0.10

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2561). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นิมิต.

ธีระพล เพ็งจันทร์. (2565). การบริหารจัดการสถานศึกษา. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ดุสิตา เลาหพันธ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 9(3), 181-193.

ดาวเทียม บับที. (2563). สภาพและปัญหาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโรงเรียนเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

บัญญัติ ชอบจิตต์. (2563). การบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่มที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พลอยอัมพัน มาพิจาร. (2562). การทำงานเป็นทีมของกลุ่มโรงเรียนสุวรรณสาธุกิจ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 103-116.

พอชาย พึงไชย. (2564). การบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานค. วารสารบัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 353.

ลัดดาวรรณ ศรีหาบุตร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(1), 118-131.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2565). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์. (2567). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รอบ 6 เดือน. เพชรบูรณ์: สิ่งพิมพ์กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins.

Forest, S. D. (2020). Types of teams and effective team building. Kansas City, Missouri: Baker College, Center for Graduate Studies.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607–610.

Pina Tarricone. (2021). Successful teamwork: A case study. New South Wales: Higher Education Research and Development Society of Australasia, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17