ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความภักดีต่ออินฟลูเอนเซอร์รีวิวผลิตภัณฑ์ เสริมความงามของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z ในจังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
อินฟลูเอนเซอร์, ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม, เจนเนอเรชั่น Zบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความภักดีต่ออินฟลูเอนเซอร์รีวิวผลิตภัณฑ์เสริมความงามของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z ในจังหวัดนครสวรรค์ การศึกษานี้ใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณ โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z ที่มีอายุตั้งแต่ 15 – 27 ปี จำนวน 391 ตัวอย่าง ได้คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรไม่ทราบค่าประชากร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน (T-Test)
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านอินฟลูเอนเซอร์อยู่ในระดับมาก แต่ละด้านมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน สามารถเรียงลำดับจากปัจจัยย่อย พบว่า ด้านความเชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับที่หนึ่ง ( = 4.16) รองลงมา คือ ด้านปฏิสัมพันธ์แบบกึ่งมีส่วนร่วมทางสังคม ( = 4.14) และความเป็นที่ไว้วางใจ ( = 4.13) ตามลำดับ การทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยด้านอินฟลูเอนเซอร์ส่งผลต่อความภักดีต่อผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z พบว่า ความเป็นที่ไว้วางใจส่งผลต่อความภักดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ในขณะที่ด้านความเชี่ยวชาญและด้านปฏิสัมพันธ์แบบกึ่งมีส่วนร่วมทางสังคมไม่ส่งผลโดยตรงต่อความภักดี ดังนั้น อินฟลูเอนเซอร์ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความไว้วางใจเป็นอันดับแรก โดยนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง โปร่งใส และมีความจริงใจในการรีวิวผลิตภัณฑ์ แม้ว่าความเชี่ยวชาญและปฏิสัมพันธ์แบบกึ่งมีส่วนร่วมทางสังคมจะไม่ส่งผลโดยตรงต่อความภักดี แต่ยังควรพัฒนาทักษะเหล่านี้เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์โดยรวม
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2567). อินฟลูเอนเซอร์ รีวิวผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย คนซื้อเสี่ยงอันตราย เรียกใช้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.bangkokbiznews.com/
กรกนก รัตนพิชญชัย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านตราสินค้าและความ ภักดี ในตราสินค้าของผู้ใช้บริการร้านอาหาร Parma Cafe and Lizakaya. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยดุสิตธานี
กานติมา ฤทธิ์วีระเดช. (2560). กลยุทธ์ผู้ทรงอิทธิพลไมโครอินฟลูเอนเซอร์ (Micro Influencers) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางออแกนิคผ่านสื่อออนไลน์ของเพศหญิงในกรุงเทพมหานคร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ฉัตยาพร เสมอใจ และมัทนียา สมมี. (2545) พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ฐิตินัน บ. คอมมอน. (2560). โซเชียลมีเดีย: เทคโนโลยีแห่งตัวตนและการสร้างอัตลักษณ์ในยุคสังคมหลังสมัยใหม่. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(97), 247-258.
ดุษยา สุขวราภิรมย์. (2565). อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์ในสื่อโซเชียลมีเดีย Youtube Facebook และ Instagram ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ในปัจจุบัน ของกลุ่มคนที่อายุ 20 - 55 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล. ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ดุษฎี แซ่แต้ และ จันทนา แสนสุข. (2564). การสื่อสารการตลาดโดยผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ส่งผลต่อคามตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางภายใต้การยอมรับเทคโนโลยีของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 45-63
ทัชวงษ์ จุลสวัสดิ์. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของผลิตภัณฑ์แฟชั่นของ กลุ่ม Gen Y เพศชายและเกย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ไทยโพสต์. (2561). เทรนความงามที่ตอบโจทย์. เรียกใช้เมื่อ 13 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.thaipost.net/
พัชริดา พันธุ์ทอง และ จันทร์เพ็ญ วรรณารักษ. (2565) ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้า กับความภักดีในตราสินค้าเครื่องสำอางผ่านผู้มีอิทธิพลต่อตราสินค้าบนสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(2),337-351.
วันทนา สิริพันธ์มณี. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในการติดตามอินฟลูเอนเซอร์รีวิวสินค้าประเภทอาหารของผู้บริโภคแต่ละเจเนอเรชั่น. ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริพร หนูน้อย. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจกับความภักดีของการให้บริการธุรกิจ ร้านอาหารญี่ปุ่น Inter Brand กับ National Brand: กรณีศึกษาร้าน Fuji และร้าน Zen ใน เขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
สุกัญญา สุระ. (2564). แรงจูงใจผู้ทรงอิทธิพลด้านสื่อโซเชียล (อินฟลูเอนเซอร์) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของประชากรในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สุทธิดา อุดมโชค และ บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ. (2565). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของผู้ทรงอิทธิพลขนาดเล็ก (Micro Influencer) ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง ประเภทสกินแคร์ของกล่มุ เพศทางเลือก. วารสารสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 5(1), 1-28.
Bi, N. C., & Zhang, R. (2022). "I'll buy what my 'friend' recommends": The impact of parasocial relationship, influencer credibility, and consumer purchase decision. Cyberpsychology, Behavior, and Social Networking, 25(1), 60-67.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Hair, J. F. (Jr) et al. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. 7th Ed. New York: Pearson.
Lee, J. A., & Eastin, M. S. (2021). Perceived authenticity of social media influencers: Scale development and validation. Journal of Research in Interactive Marketing, 15(4), 822-841. https://doi.org/10.1108/JRIM-12-2020-0253
Lim, X. J., Radzol, A. M., Cheah, J., & Wong, M. W. (2020). The impact of social media influencers on purchase intention and the mediation effect of customer attitude. Asian Journal of Business Research, 7(2), 19-36.
Mandala. (2022). อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คือ โปรโมทยังไงให้ขายดี. Mandala System. Retrieved September 28, 2023. https://www.mandalasystem.com/blog/th/233/Tips-for-choose-influencer-to-promote-products