การบริหารสถานศึกษาด้วยการคิดเชิงออกแบบ

ผู้แต่ง

  • ผดุง ละเอียดศิลป์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ละมุล รอดขวัญ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, การคิดเชิงออกแบบ, ผู้ใช้

บทคัดย่อ

การบริหารสถานศึกษาในยุคปัจจุบันต้องการการปรับตัวและนวัตกรรมเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี สังคม และเศรษฐกิจ สถานศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและการเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 การสร้างสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นและการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิต  แต่ในการพัฒนานั้นต้องคำนึงถึงความเสี่ยงเนื่องจากสถานศึกษามีข้อจำกัดด้านงบประมาณและทรัพยากร ผู้บริหารจึงต้องปรับปรุงวิธีการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียน ครูและบุคลากร ตลอดจนผู้ปกครองและชุมชน การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นวิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นประโยชน์ในกระบวนการบริหารจัดการ เนื่องจากเป็นกระบวนการที่เน้นผู้ใช้ ใช้วิธีการคิดที่สร้างสรรค์และยืดหยุ่น

การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นกระบวนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาอย่างลึกซึ้ง เน้นผู้ใช้เป็นหลัก นำมุมมองที่หลากหลายมาสร้างเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ทดสอบและพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การเข้าใจปัญหา (Empathize)  2) การระบุปัญหา (Define) 3) การระดมแนวคิดใหม่ (Ideate) 4) การสร้างต้นแบบ (Prototype) และ 5) การทดสอบ (Test) จึงเป็นกระบวนการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ รวมถึงการบริหารสถานศึกษาซึ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ได้แก่ นักเรียน ครู บุคลากร และชุมชน

แนวทางการบริหารสถานศึกษาด้วยการคิดเชิงออกแบบจะช่วยให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถพัฒนาการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของหลักสูตร พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วม พัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถสร้างพื้นที่สำหรับพัฒนานวัตกรรมที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต

References

คึกฤทธิ์ ศิลาลาย. (2566). แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุควิถีใหม่. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(1), 58-74.

ทินกร เผ่ากันทะ. (2565). แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 4(2), 37-45.

นิตยา หงษ์ขุนทด และคณะ. (2567). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 6(1), 427-436.

ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และชูจิต ตรีรัตนพันธ์. (2562). การคิดเชิงออกแบบ : เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ.

พีรดร แก้วลาย และขวัญ พงษ์หาญยุทธ. (2562). Design Thinking กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.

วรชัย วิภูอุปรโคตร. (2024). แนวทางการบริหารสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในยุค 4.0. วารสาร มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 9(1), 60-69.

วัสสิกา รุมาคม และคณะ. (2565). การบริหารสถานศึกษาในยุคความผิดปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6),16-30.

สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น,16(1), 353 - 360.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารสถานศึกษาเพื่อการสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2564). นวัตกรรมการบริหารสถานศึกยุคใหม่. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 975-984.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปสาระสำคัญแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : บริษัท ซีดี มีเดีย ไกด์ จำกัด.

อภิชัย สุรเดชเดชากุล. (2567). แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21, 2(2), 20-36.

อุกฤษฎ์ ดอนบรรเทา และเอกราช โฆษิตพิมาณเวช. (2567). การบริหารจัดการสถานศึกษายุคใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 7(2), 529-545.

Awuku, O. Alex. (2023). School Administration Guide : Education Bureau. Retireved April 23, 2024, From https://www.edb.gov.hk/attachment/en/sch-admin/regulations/sch-admin-guide/SAG_E.pdf.

Brown, T. (2009). Change by Design: How Design Thinking Creates New Alternatives for Business and Society. HarperBusiness.

Caldwell, B. J., & Spinks, J. M. (2021). The self-managing school. Routledge.

Chao, G. (2015). Behind the sticky notes: Design Thinking. Stanford Daily. Retrieved June 6, 2024, From https://www.stanforddaily.com/what-is-design-thinking/

Cox, M. (2016). "The Fundamentals of Design Thinking." Journal of Design Innovation, 12(1), 45-60.

Cox, M. (2016). The role of design thinking in innovation. Retireved June 3, 2024, From

https://medium.com/pancentric-people/the-role-of-design-thinking-in-innovation-ba68a3d91683

Hargreaves, A., & Fullan, M. (2012). Professional Capital: Transforming Teaching in Every School. Teachers College Press.

IDEO. (2015). The Field Guide to Human-Centered Design. IDEO.org.

Kelley, D., & Kelley, T. (2013). Creative Confidence: Unleashing the Creative Potential Within Us All. Crown Business.

Sabir, U., Sittar, K., & Alvi, G. F. (July - September 2023). Role of Administration and Development of Education System at Schools Level. Pakistan Languages and Humanities Review, 7(3), 750-762.

The Education Commission. (2016). The Learning Generation: Investing in Education for a Changing World. Retrieved July 12, From https://report.educationcommission.org

Tran, N. (2016). Design Thinking Playbook for Change Management in K12 Schools. Retireved June 5, 2024, From http://issuu.com/normantran2001/docs/design_thinking_playboo

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17