การจัดการวิสาหกิจชุมชนแบบเกษตรสร้างมูลค่า อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • อัจฉราวรรณ สุขเกิด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • วิภาวดี ทูปิยะ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ธันยธร ติณภพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

วิสาหกิจชุมชน, การจัดการ, เกษตรสร้างมูลค่า

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบริบทของชุมชน สภาพปัญหา และสถานการณ์ผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี 2. เพื่อศึกษาการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ประเภทวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ กลุ่มวิสาหกิจที่ทำเกษตรหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร  เข้าร่วม จำนวน 8 กลุ่ม ที่อยู่ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี  จำนวน 20 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล โดยวิธีการสัมภาษณ์

ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. กลุ่มวิสาหกิจมีการบริหารจัดการร่วมกันและมีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับสมาชิก และมีการสานสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มวิสาหกิจด้วยกัน ในด้านการผลิต การตลาด และถ่ายองค์ความรู้ไปยังชุมชนและเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจที่ใกล้เคียง วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า การเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์ ใช้การแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีปัจจัย 1) ตั้งชื่อแบรนด์ 2) สร้างการตลาด 3) การออกแบบโลโก้ 4) การออกแบบบรรจุภัณฑ์

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2566). กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน. กรมส่งเสริมการเกษตร.

กลุ่มพัฒนาเกษตรกร. (2565). แนวทางการส่งเสริมเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรในกลุ่มเกษตรกร. กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร.

ชมภูนุช หุ่นนาค และคณะ. (2563). แนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชน: ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สาธิตการเกษตรร้านค้าชุมชน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 13(2), 21-53.

ณัฐพนธ์ สกุลพงษ์. (2565). รูปแบบการดำเนินงานของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน จังหวัดเชียงใหม่. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ทรัพย์ อมรภิญโญ. (2564). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมกลุ่มจักสานชุมชนบ้านไชยา หมู่ 4 อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(3), 88-101.

นุชนาถ ทับครุฑ และคณะ. (2563). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรังเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จ. วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

เบญจวรรณ ใสหวาน และคณะ. (2562). การจัดการความรู้เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับวิสาหกิจชุมชน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(2), 137-147.

ปิยพงษ์ ยงเพชร และคณะ. (2564). การมองการณ์ไกลเพื่อการจัดการชุมชนต้นแบบด้านพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน [การนําเสนอบทความ]. การประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ (เสมือนจริง) ครั้งที่ 7 เรื่อง UI Green Metric World University Rankings (IWGM 2021), University Putra Malaysia.

วริศรา คลังนุ่ม. (2562). การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกผักและผลไม้ปลอดสารพิษดอกบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. ใน วิทยานิพนธ์ หลักสูตรการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค.

สมชาย น้อยฉ่ำ และคณะ. (2561). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(ฉบับพเศษ), 130-139.

สลิลรดา รัตน์พลที. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(2), 37-51.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). แผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564).กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2566). การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก. กองนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าสินค้าเกษตร กระทรวงพาณิชย์.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2552). ความหมายของวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการเกษตร.

สัญญาศรณ์ สวัสดิไธสง และคณะ. (2562). สภาพปัญหา ความต้องการคุณภาพชีวิต และรปูแบบการพัฒนาประสิทธิภาพ การผลิตและการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรของวิสาหกิจชุมชน. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(2), 230-240.

สุตาภัทร คงเกิด และคณะ. (2565). การพัฒนาขีดความสามารถของผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(49), 71-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17