รูปแบบธนาคารเวลาที่เหมาะสมกับประเทศไทย
คำสำคัญ:
ธนาคารเวลา;, รูปแบบการดำเนินการ;, ประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์และเข้าใจกลไกของรูปแบบการดำเนินธนาคารเวลาในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการธนาคารเวลาในประเทศไทย และ 3) เพื่อสร้างแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินธนาคารเวลาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการเลือกแบบเจาะจง การสุ่มตัวอย่างแบบอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ธนาคารเวลา เป็นระบบแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยแทนที่เงินด้วยหน่วยเวลา กิจกรรมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ช่วยดูแลผู้สูงอายุ สอนหนังสือ สอนทักษะต่างๆ เป็นต้น สมาชิกสามารถสะสมเวลาจากการช่วยเหลือผู้อื่น เมื่อสะสมครบตามที่กำหนดแล้ว ก็สามารถเบิกถอนเวลาเพื่อรับบริการจากผู้อื่นได้ กลไกการกำกับดูแลธนาคารเวลาในประเทศไทยประกอบด้วย 2 ระดับ คือ ระดับพื้นที่และระดับประเทศ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการธนาคารเวลาในประเทศไทย เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก ปัจจัยภายใน ได้แก่ รูปแบบการดำเนินงานของธนาคารเวลาเอง เช่น รูปแบบการตอบแทนที่ไม่ยุติธรรม งบประมาณไม่เพียงพอ สถานที่ตั้งไม่สะดวก การนับเวลาในการทำธุรกรรมไม่ชัดเจน การบันทึกเวลาไม่ถูกต้อง และวิธีการติดตามและประเมินผลในระดับกิจกรรมยังไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อธนาคารเวลายังไม่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย 3) การพัฒนาธนาคารเวลาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทยควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ธนาคารเวลาสามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างแท้จริง
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุด้านความมั่นคงในชีวิต. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). คู่มือธนาคารเวลาของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
กุลธิดา จันทร์เจริญ และเนตร หงส์ไกรเลิศ. (2563). การวิจัยและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการดำเนินงาน “ธนาคารเวลา”. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสนับสนุนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะรองรับสังคมสูงวัย.
จักรี อดุลนิรัตน์. (2564). มาตรการกฎหมายเกี่ยวกับธนาคารเวลาในประเทศไทย. วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 111-135.
ชัยฤทธิ์ อิ่มเจริญ และสิรินธร สินจินดาวงศ์. (2565). การศึกษาความพอใจในชีวิตจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจิตอาสาสำหรับสมาชิกผู้สูงอายุในธนาคารเวลา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 39(105), 239-249.
นิภัทรา นาคสิงห์. (2562). ธนาคารเวลา. เรียกใช้เมื่อ 24 พฤษภาคม 2566. จาก https://readthecloud.co/time-bank/.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). คู่มือธนาคารเวลา. เรียกใช้เมื่อ 24 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.thaihealth.or.th.
Kim, H. K. (2019). Exploring social innovation and time bank: focus on the elderly healthcare in the Gangwon Province. Asian Journal of Innovation and Policy, 8(2),208-237.
Wu, Y., Ding, Y., Hu, C., & Wang, L. (2021). The Influencing Factors of Participation in Online Timebank Nursing for Community Elderly in Beijing, China. Frontiers in Public Health, 9, 650018.