แนวทางการพัฒนาตนเองด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา : กรณีวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

ผู้แต่ง

  • รพี ม่วงนนท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • คัชรินทร์ การพินิจ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ชัยณรงค์ สิริพรปรีดา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • อภิภู สิทธิภูมิมงคล วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ฉลอง รัตนพงษ์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาตนเอง, ด้านการปฏิบัติงาน, บุคลากรสายสนับสนุน, สถาบันอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา : กรณีวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และ 2) แนวทางการพัฒนาตนเองด้านการศึกษาต่อ ด้านการฝึกอบรม ด้านการเรียนรู้ ด้านเทคนิคการปฏิบัติงาน ด้านเทคโนโลยี ด้านค่าตอบแทน ด้านความมั่นคงในงาน และด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสายสนับสนุนพื้นที่ศาลายาและวิทยาเขตวังไกลกังวล ซึ่งทำการสัมภาษณ์แบบเจาะจง 20 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์รูปแบบเล่าเรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารในรูปแบบของการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และส่วนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะจง แล้วนำมาตรวจสอบแบบสามเส้าด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล (methodological Triangulation) เพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงนั้นสมบูรณ์สามารถนำมาตอบคำถามการวิจัยได้และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ซึ่งทำโดยการสังเกตควบคู่กับการซักถามผู้ให้ข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์แล้วจะนำเสนอเป็นข้อความบรรยาย

ผลการศึกษาพบว่า

  1. มีความต้องการทางด้านการศึกษาต่อ รองลงมาเป็นด้านฝึกอบรม ด้านการเรียนรู้ ด้านเทคนิคการปฏิบัติ ด้านเทคโนโลยี ด้านความมั่นคงในงาน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน และด้านค่าตอบแทน ตามลำดับ
  2. แนวทางการพัฒนาตนเองด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา : กรณีวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พบว่า ควรส่งเสริมให้บุคลากรได้ศึกษาต่อในทุกระดับโดยให้ทุนการศึกษา สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรภายนอก สนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน สนับสนุนให้มีโอกาสได้เรียนรู้เทคนิคในการปฏิบัติงาน จ่ายค่าตอบแทนตามวุฒิที่ได้รับตามนโยบายและกฎหมายกำหนด มีมุมมองในรูปแบบของบริษัทที่ดึงดูดผู้มีความสามารถไว้กับองค์กร มุ่งเน้นเรื่องความก้าวหน้าและมีลำดับขั้นการขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารที่ชัดเจน

References

กมลฉัตร อยู่เจริญพงษ์. (2564). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรเทศบาลเมือง บ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. ใน รัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีร์ธรรม วุฑฒิวัตรชัยแก้ว และคณะ. (2561). กลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: แอทโฟร์พริ้นท์.

วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ. ออนไลน์ (2567). เรียกใช้เมื่อ 28 มิถุนายน 2567. จาก https://www.rcim.in.th/

สุรีวัลย์ เงินพูลทรัพย์และรัชยา ภักดีจิตร. (2564). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในยุคประเทศไทย 4.0. Journal of Administrative and Management Innovation, 9(1), 68-78

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4 (1).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ. ออนไลน์. เรียกใช้เมื่อ 10 กรกฎาคม 2567. จากhttps://www.onec.go.th/index.php/page/view/Outstand/2532

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17