แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์การคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
คำสำคัญ:
องค์การคุณภาพ, เกณฑ์รางวัลคุณภาพ, รางวัลคุณภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพการเป็นองค์การคุณภาพของสถานศึกษา และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์การคุณภาพของสถานศึกษา วิธีวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพองค์การคุณภาพของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้าวิชาการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 226 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 เสนอแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์การคุณภาพของสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 3 คน นักวิชาการด้านการศึกษา จำนวน 2 คน และผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 2 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์การคุณภาพของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการนำองค์กร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์การคุณภาพของสถานศึกษา ประกอบด้วย 7 ด้าน 45 แนวทาง ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการนำองค์กร จำนวน 6 แนวทาง ด้านที่ 2 ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ จำนวน 8 แนวทาง ด้านที่ 3 การจัดการกระบวนการ จำนวน 8 แนวทาง ด้านที่ 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ จำนวน 4 แนวทาง ด้านที่ 5 ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร จำนวน 7 แนวทาง ด้านที่ 6 ด้านการมุ่งเน้นผู้รับบริการ จำนวน 4 แนวทาง และด้านที่ 7 ด้านผลลัพธ์ จำนวน 8 แนวทาง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
กฤชณรงค์ ด้วงลา. (2563). "รูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษา" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9311.
จารุวัลฐ์ สุทธิสานนท์. (2559). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน :กรณีศึกษาโรงเรียนเลยพิทยาคม. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จิตติภา ศัพทเสน. (2558). แนวทางการบริหารสู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐานของโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล: กรณีโรงเรียนนนทรีวิทยา. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัณฑิต พัดเย็น. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษาสู่เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พุฒิสรรค์ รจิตานนท์. (2562). แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพ การศึกษาขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามแนวคิดความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียน. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนต์ชัย ปาณธูป. (2557). การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาอย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ในโรงเรียนมาตรฐานสากลที่พัฒนาอย่างเข้มข้น(Intensive School). นครปฐม: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.
เมธี ทองคำ. (2558). การบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
รวยรินทร์ เพียรพิทักษ์. (2559). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร.
รัตติยา วงศ์หิรัญตระกูล. (2558). แนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนบ้านโป่งแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สมศักดิ์ วาณิชวศิน. (2562). แนวทางสู่ความเป็นเลิศของสำนักงาน กสทช. ผ่านการประยุกต์ใช้มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.
สุริยา กิจลิขิต. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. กรุงเทพมหานคร: วารสารบริหารการศึกษา ศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การขับเคลื่อนการศึกษามัธยมศึกษาไทย 4.0 เพื่อการมีงานทำแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553 (ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2553). กรุงเทพมหานคร: สกอ.
สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม. (2562). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี2563-2564. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน).
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2553). คู่มือการบริหารจัดการระบบคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
อภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์. (2560). การประยุกต์ใช้เกณฑ์ มัลคอร์มบัลดริจ (MalcomBaldrig National Quality Award, MBNQA ) ในประเทศไทย. วารสารบริหารการศึกษา มศว.