แนวทางการเสริมสร้างบรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน ตามข้อตกลงการพัฒนางาน ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • พัชรพร เปียงาม สาขาวิขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ธีระวัฒน์ มอนไธสง สาขาวิขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

บรรยากาศองค์การ, ข้อตกลงการพัฒนางาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพบรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานตามข้อตกลงการพัฒนางานของครู และ 2) นำเสนอแนวทางการเสริมสร้างบรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานตามข้อตกลงการพัฒนางานของครู วิจัยนี้มี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพบรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานตามข้อตกลงการพัฒนางานของครู กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 จำนวน 302 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอแนวทางการเสริมสร้างบรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานตามข้อตกลงการพัฒนางานของครู ผู้ให้ข้อมูลหลัก นักวิชาการทางการศึกษา จำนวน 1 คน ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 3 คน และผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 3 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของสภาพบรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานตามข้อตกลงการพัฒนางานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านความผูกพันในองค์การ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาบรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน ตามข้อตกลงการพัฒนางานของครู ประกอบด้วย 6 ด้าน 37 แนวทาง ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการสนับสนุน จำนวน 6 แนวทาง เช่น ผู้บริหารสถานควรกำหนดทิศทางในการกระจายงานให้เป็นระบบภายในองค์การ ด้านที่ 2 ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ จำนวน 8 แนวทาง เช่น ผู้บริหารต้องมีผู้บริหารต้องมีการเสริมแรงทางบวก Positive Reinforcement ให้กับครูเพื่อกระตุ้นให้ครูปฏิบัติงานตามข้อตกลงการพัฒนางานได้อย่างเต็มศักยภาพ ด้านที่ 3 ความผูกพันในองค์การ จำนวน 6 แนวทาง เช่น ผู้บริหารต้องมีใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง มองสถานการณ์ภายในองค์การได้อย่างเฉียบขาด มีการตัดสินใจที่เด็ดขาดและชัดเจน ด้านที่ 4 ด้านโครงสร้างองค์การ จำนวน 5 แนวทาง เช่น ผู้บริหารสถานศึกษาต้องวางแผนงานตามโครงสร้างโดยมีการกำหนดภาระหน้าที่ ที่ชัดเจนและแบ่งงานตามความถนัดหรือความต้องการของบุคคลากร ด้านที่ 5 ด้านด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน จำนวน 6 แนวทาง เช่น ผู้บริหารต้องสร้างตั้งเป้าหมายและประเด็นท้าท้ายในการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยอิงมาตรฐานตามแผนงานที่กำหนดไว้ และด้านที่ 6 ด้านการทำงานเป็นทีม จำนวน 6 แนวทาง เช่น บริหารต้องมีการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรมีความตื่นตัวในการปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างที่ดีโดยการยกย่องเชิดชูเกียรติ เคารพ ให้เกียรติกันภายในองค์กร

References

กมลกาญจน์ อรุณรัตน์. (2563). บรรยากาศองค์การในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

กัณฑ์อเนก สุภัทรศักดา. (2561). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในจังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(24), 211-215.

เกวลิน ตระกูลสุขทรัพย์. (2564). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

จันทร์เพ็ญ สินนาม. (2563). บรรยากาศองค์การในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

จิตรี ฟุ้งกลิ่น. (2559). บรรยากาศองค์การและการทำงานเป็นที่ส่งผลต่อคุณภาพการ บริการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 13(25), 10-20.

ฐาปณี บุญยเกียรติ. (2559). การรับรู้บรรยากาศองค์การที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันขององค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานต่อองค์การ. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณรงค์ศักดิ์ นาคสมบูรณ์. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 6(3), 29-43.

พรรณภา อนันตะคู (2562). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคกลาง. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

พัชชานันท์ โภชฌงค์. (2563). บรรยากาศองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(2), 174 – 188.

วิราวรรณ กองสอน. (2565). แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สรียา บุญธรรม. (2561). บรรยากาศองค์การและแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อการ มีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษ, 1(1), 63-80.

อุไรวรรณ บุญธรรมมา. (2559). แนวทางการส่งเสริมบรรยากาศองค์การและความผูกพันต่อองค์การในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารราชพฤกษ์บริหารการศึกษา, 8(16), 87-94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17