แนวทางการบริหารความขัดแย้งในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารขัดแย้งในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) นำเสนอแนวทางการบริหารความขัดแย้งในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา วิธีวิจัยมี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารขัดแย้งในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 331 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 นำเสนอแนวทางการบริหารความขัดแย้งในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารการศึกษา นักวิชาการด้านการศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียน รวมจำนวน 7 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพของการบริหารความขัดแย้งในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการยอมให้ ปัญหาของการบริหารความขัดแย้งในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการยอมให้ และ ผลต่างของสภาพและปัญหาของการบริหารความขัดแย้งในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมผลต่างมีค่าเท่ากับ 0.34 ด้านที่มีผลต่างสูงสุด คือ ด้านการประนีประนอม และ 2) นำเสนอแนวทางการบริหารความขัดแย้งในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 ด้าน 36 แนวทาง ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการหลีกเลี่ยง ด้านที่ 2 ด้านการประนีประนอม ด้านที่ 3 ด้านการร่วมมือ ด้านที่ 4 ด้านการยอมให้ และด้านที่ 5 ด้านการเอาชนะ
References
จิรารัตน์ เขียนรูปครุฑ. (2558). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณิชชา วัชระชยะกูล และ สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2558). การปรับตัวของนิตยสาร A DAY ในยุค ดิจิทัล. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน, คณะวารสารศาสตร์.
ทิพย์รัตน์ จิตตเดชาธร.(2559). การบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ (มหินทรศึกษาคาร). ใน หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นันท์นภัส แช่มเงิน. (2559) . การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ. ใน หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.
นิรอฮายา เจษฎาภา.( 2559) . การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี. ใน หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
นุตประวีณ์ เบาเนิ้ด. (2555). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เนาวรัตน์ แย้มแสงสังข์. (2542). แนวคิดและกลยุทธ์ในการปรับระบบองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทการศึกษา จํากัด.
ศรัณย์รัชต์ ศุภภรณ์พานิช . (2564). แนวทางการพัฒนาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.
สุปัน ราสุวรรณ์. (2540) .ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจของครูสังกัด สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.