การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ สื่อสังคมออนไลน์สำหรับนักศึกษาครู
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, ห้องเรียนกลับด้าน, สื่อสังคมออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัด การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์สำหรับนักศึกษาครู และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ มีค่าเท่ากับ 84.83/83.97 และประสิทธิผลเท่ากับ 0.74 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กานต์ เชื้อวงศ์ และสุกัญญา ทองแห้ว. (2565). การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านในรายวิชาการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์เบื้องต้นของนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(6), 125-138.
ขวัญฤดี คำภาบุตร์ และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(4), 98-108.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. (2566). ระบบบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2567 จาก https://reg.lru.ac.th/registrar/class_info_2.asp
รุ่งอรุณ พรเจริญ และทรงสิริ วิชิรานนท์. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 10(2), 62-72.
วรรนิสา หนูช่วย และประกอบ กรณีกิจ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 12(1), 1456-1470.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพมหานคร : เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อุรสา พรหมทา และสมชาย วงศา. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนเครือข่ายสังคมออนไลน์ รายวิชาความเป็นครู. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 34-42.
Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Why flipped classrooms are here to stay. Education Week, 45(2), 17-41.
Muruganantham, G. (2015). Developing of E-content package by using ADDIE model. International Journal of Applied Research, 1(3), 52-54.
Zhang, Q., Cheung, E. S. T., & Cheung, C. S. T. (2021). The Impact of Flipped Classroom on College Students’ Academic Performance: A Meta-Analysis Based on 20 Experimental Studies. Science Insights Education Frontiers, 8(2), 1059-1080.