โมเดลสมการโครงสร้างโรงเรียนประถมศึกษาคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

ผู้แต่ง

  • ทนง ทองภูเบศร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • คัชรินทร์ การพินิจ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • กุลพัทธ์ กุลชาติดิลก วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ฉลอง รัตนพงษ์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • อภิภู สิทธิภูมิมงคล วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ชัยณรงค์ สิริพรปรีดา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

โมเดลสมการโครงสร้าง, คุณภาพการศึกษา, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษามาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และ 2) พัฒนาโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) สำหรับวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 200 โรงเรียน   โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงอุปนัย และแปลความหมายมาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีเทียบกับเกณฑ์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

ผลการวิจัยพบว่า

1) โมเดลมีความเหมาะสมในระดับที่ยอมรับได้ ค่าเส้นทางระหว่างมาตรฐานด้านคุณภาพครู และมาตรฐานด้านคุณภาพนักเรียน ที่มีค่า 0.74 แสดงถึงความสัมพันธ์เชิงบวกที่แข็งแกร่งระหว่างมาตรฐานด้านคุณภาพครูกับมาตรฐานด้านคุณภาพนักเรียน ในขณะที่ค่าเส้นทางระหว่างมาตรฐานด้านการบริหารจัดการโรงเรียน และ 2) มาตรฐานด้านคุณภาพนักเรียน มีค่าต่ำสุดที่ 0.02 แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ไม่แข็งแกร่งเท่ากับมาตรฐานด้านคุณภาพครู นอกจากนี้ มาตรฐานด้านคุณภาพครูยังส่งผลต่อมาตรฐานด้านคุณภาพนักเรียนด้วยค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง 0.63 ผลการวัดความเหมาะสมของโมเดล (Chi-square = 188.007, df = 125, p = .000, CMIN/DF = 1.504, GFI = .907, AGFI = .872, CFI = .978, RMR = .032, RMSEA = .050) แสดงให้เห็นว่าโมเดลมีความพอดีกับข้อมูลในระดับที่ยอมรับได้ ดังนั้น โมเดลสมการโครงสร้างนี้สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในโรงเรียนประถมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนยุทธศาสตร์การศึกษา 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กาญจนา ศรีวัฒนานุกูล. (2563). แนวคิดโรงเรียนประถมศึกษาคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี. วารสารการศึกษา, 20(2), 15-30.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2563). มาตรฐานโรงเรียนคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สสวท.

Breiner, J. M., Harkness, S. S., Johnson, C. C., & Koehler, C. M. (2012). What is STEM? A Discussion About Conceptions of STEM in Education and Partnerships. School Science and Mathematics, 112(1), 3-11.

Bybee, R. W. (2010). Advancing STEM Education: A 2020 Vision. Technology and Engineering Teacher, 70(1), 30-35.

Byrne, B. M. (2010). Structural Equation Modeling with AMOS: Basic Concepts, Applications, and Programming (2nd ed.). Routledge.

Hattie, J. A. C., & Mitchell, J. (2007). The effectiveness of educational interventions: A synthesis and research guide. London: Routledge.

Hoyle, R. H. (2012). Handbook of Structural Equation Modeling. The Guilford Press.

Hu, L., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff Criteria for Fit Indexes in Covariance Structure Analysis: Conventional Criteria Versus New Alternatives. Structural Equation Modeling: A Multidisciplinary Journal, 6(1), 1-55.

International Technology Education Association. (2007). Standards for Technological Literacy: Content for the Study of Technology (3rd ed.). ITEA.

Kilpatrick, J., Swafford, J., & Findell, B. (2001). Adding It Up: Helping Children Learn Mathematics. National Academies Press.

Kline, R. B. (2015). Principles and Practice of Structural Equation Modeling (4th ed.). The Guilford Press.

Lacey, T. A., & Wright, B. (2009). Occupational Employment Projections to 2018. Monthly Labor Review, 132(11), 82-123.

Leithwood, K., & Jantzi, J. (2009). Focus on leadership: Research and practice in educational leadership (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

National Research Council. (2011). Successful K-12 STEM Education: Identifying Effective Approaches in Science, Technology, Engineering, and Mathematics. National Academies Press.

National Research Council. (2012). A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concepts, and Core Ideas. National Academies Press.

Rivkin, S. G., & Hanushek, E. A. (2009). Incorporating teacher quality measures into education policy: Uses and limitations. Educational Researcher, 38(4), 255-265.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2016). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling (4th ed.). Routledge.

Soper, D.S. (2024). A-priori Sample Size Calculator for Structural Equation Models [Software]. Available from https://www.danielsoper.com/statcalc

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17