การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
การบริหาร, การบริหารวิชาการ, ทักษะอาชีพ, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
ความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนาของสังคมโลกอย่างรวดเร็ว ทำให้ทุกภูมิภาคของโลกสามารถรับรู้ติดต่อข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วเชื่อมต่อกันอย่างไร้พรหมแดน ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดดภายใต้การขับเคลื่อนปัจจัยพื้นฐานทางสังคมของประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาคนที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นสำคัญ สถานศึกษาจึงเป็นหน่วยงานที่สำคัญโดยเฉพาะในส่วนของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาที่มีส่วนสำคัญในการวางแผนจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักสูตรพร้อมทั้งพัฒนาหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับสภาพบริบทของพื้นที่สอดคล้องกับอาชีพในท้องถิ่นและสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียน และนำไปสู่การพัฒนาและการสร้างทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับอนาคตแก่ผู้เรียน บทความทางวิชาการนี้ต้องการนำเสนอแนวคิดในการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน สามารถนำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการศึกษาและพัฒนาการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียนตามแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 -2580 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัญญาณัฐ ปูนา. (2562). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาพื้นที่พิเศษ จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
จันทร์เพ็ญ สุวรรณคร. (2558). กระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้าง การใช้ทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. นครปฐม.
ดวงนภา เตปา. (2562). การพัฒนานาคู่มือการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านท้าวบุญเรืองอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชเชียงใหม่.
ปนัดดา นกแก้ว. (2562). ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการ. ใน ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พระมหาธีรเพชร มาตพงษ์. (2561). การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.
มูนา จารง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. ใน สารนิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้ เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : ตถาตา : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ.
วัชรสินธุ์ เพ็งบุบผา. (2564). ทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในโลกยุคใหม่ที่นักเรียนไทยควรได้รับการพัฒนา : การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. ครุศาสตร์สาน, 15 (1).
สุปรียา ศิริพัฒนกุลขจร. (2555). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The 21st Century Learning). The NAS Magazine. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัตติ บัญภิรมย์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทบุ๊คพอยท์จำกัด.
สรเดช เลิศวัฒนาวานิช. (2560). การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและคุณลักษณะในการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
สายเพ็ญ บุญทองแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี : สุราษฎร์ธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การศึกษาวิเคราะห์ระบบการศึกษาไทย. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2565. จาก : https//www.obec.go.th.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2759. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2565. จาก : https//www.obec.go.th.
Richard A. Gorton. (1893). School Administration and Supervision: Leadership Challenges and Opportunities, 2nd ed. (Ohio: W.C.Brown Co, 1983), 158-164