การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
คำสำคัญ:
การพัฒนาโปรแกรม, สมรรถนะการจัดการเรียนรู้, นักศึกษาฝึกประสบการณ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 26 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลมี 5 องค์ประกอบ คือ การวิเคราะห์หลักสูตรและสาระการเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ และการประเมินผลและวิจัยพัฒนาการเรียนรู้ 2) การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มี 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการพัฒนาโปรแกรม และการวัดและประเมินผล โดยผลการประเมินโปรแกรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการศึกษาการใช้โปรแกรมพบว่า 3.1 ผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลหลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลข้าราชการครูสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
จิติมา วรรณศรี. (2564). การบริหารจัดการศึกษายุคเทคโนโลยีดิจิทัล. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.
ฉัตรชัย หวังมีจงมี และองอาจ นัยพัฒน์. (2560). สมรรถนะครูไทยศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียนเปลี่ยนสมรรถนะ. วารสารสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 20(3), 71-81.
ไฉไลศรี เพชรใต้ และพชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 170-184.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.
บุญฤดี อุดมผล. (2563). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นครูเชิงพุทธบูรณาการของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เพชรจันทร์ ภูทะวัง, (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี(พ.ศ.2551 – 2565). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2561). สมรรถนะ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนวทางการพัฒนาครูเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.
McClelland, D. (1993). Testing for Competency Rather than for Intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.
Wenglinsky, H. (2006). Technology and Achievement: The Bottom Line. Educational Leadership, 63(4), 29-32.