แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 2) เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 วิธีวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1. ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู กลุ่มตัวอย่างคือ ครู จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. นำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 รวมจำนวน 8 คน
ผลการวิจัย พบว่า
- ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 มีความต้องการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับความต้องการจำเป็นสูงสูด ดังนี้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และอันดับสุดท้าย คือ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก
- แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ทั้ง 3 ด้านมีแนวทางในการพัฒนา ดังนี้ 1. ครูพัฒนาตนเอง ได้แก่ 1) การอบรมสื่อออนไลน์ 2) กลุ่มชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ และ 3) เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ 2. สถานสึกษาพัฒนาครู ได้แก่ 1) จัดการประชุมส่งเสริมพัฒนาครู 2) นิเทศตรวจเยี่ยมชั้นเรียน 3) แบ่งกลุ่มย่อยครู และใช้รูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน และ 3. หน่วยงานต้นสังกัดพัฒนาครู ได้แก่ กำหนดนโยบายให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู 2) อบรมครูและจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู 3) นิเทศ ติดตาม ประเมินผลสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู 4) วิเคราะห์ผล และวางแผนพัฒนาสมรรถนะครูในปีการศึกษาต่อไป
References
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116/ตอนที่ 74 ก หน้า 2 (19 สิงหาคม พ.ศ. 2542).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). ระบบและรูปแบบการผลิตครูและระบบวิจัยของสถาบันผลิตครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2558). การโค้ชเพื่อการรู้คิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ฉบับปรับปรุง 2558 กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
คมกริช ภูคงกิ่ง. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทักษิณ เกษต้น. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิชญาภา ยืนยาว และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบกลไกและระบบคัดกรองผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 13-26.
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง และพร้อมภัค บึงบัว. (2562). ระบบพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ. สุทธิปริทัศน์, 33(107), 206-222.
พงษ์ศักดิ์ ด้วงทา. (2557). การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูโรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.