วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมองค์การ, การปฏิบัติงานของครู, โรงเรียนมัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา 4) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา จำนวน 302 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นด้านวัฒนธรรมองค์การ และด้านการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัย พบว่า
1) วัฒนธรรมองค์การ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเชื่อ รองลงมา ด้านการสร้างวีรบุรุษ ด้านบรรทัดฐาน ด้านค่านิยม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อม
2) การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู รองลงมา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน
3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ กับการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทางบวกอยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 ด้าน คือ ด้านความเชื่อ และ ด้านการสร้างวีรบุรุษ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยทำนายการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้ร้อยละ 25 สามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 5.199 + (-0.120X5) + (-0.147X2) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = (-0.137X2) + (-0.143X5)
References
กัญญ์นรา คนการ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัด ชลบุรี. ใน งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
กัญญา รอดพิทักษ์ (2552). วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของ พนักงานธนาคารออมสิน ฝ่ายกิจการนครหลวง 3 เขตศิริราช. ใน ภาคนิพนธ์ บธ.ม. ธนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ชวน สุขเจริญ. (2553). ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัยอนันต์ มั่นคง. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริม การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ในยุคนิวนอร์มัล. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 8(3), 126.
ปิยะดา น้อยอามาตย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับประสิทธิผลของ โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. .ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
ไพบูลย์ ช่างเรียน. (2543). การบริหารคุณภาพ = Quality Management : มาตรฐานสากล ISO 900 และ TQM. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สมธรรม.
มานพ ชูนิล. (2537). พฤติกรรมของบุคคลในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: โปรควอลิตี้พริ้นท์แอนด์ มีเดีย.
เสนาะ ติเยาว์. (2551). หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale: Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.