การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

ผู้แต่ง

  • กิตติพงศ์ สุวรรณวงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระเมธีวชิราภิรัต (ธรรมรัต อริยธมฺโม) มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
  • อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
  • พระใบฏีกาสมศักดิ์ ฐิตคุโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประวัติศาสตร์, สมัยอยุธยาตอนปลาย, ตำบลท่าข้าม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 2) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร และการศึกษาภาคสนาม

        ผลการศึกษา พบว่า 1. การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีการวิเคราะห์พื้นที่ซึ่งมีความเป็นมาและประวัติศาสตร์ชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย จำนวน 5 แห่ง ซึ่งมีศักยภาพเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่การเรียนรู้ ได้แก่ วัดท่าข้าม สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม หลาดนัดนาหลา 100 ปี วัดหินเกลี้ยง และทุ่งนาหลาต้นโด โดยมีการจัดทำป้ายความรู้ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในพื้นที่การเรียนรู้ทั้ง 5 แห่ง และ 2. ผลการศึกษาในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน การวิ่งเทรล และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 4.32 รองลงมา ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 4.31 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว 4.29 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 4.20

References

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมการศาสนา. กองพุทธศาสนสถาน (2540). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 16. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

จรูญ หยูทอง. (2564). รากเหง้าและเบ้าหลอม ท่าข้าม. ชุมชนร่วมสมัยตอนปลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

สว่าง เลิศฤทธิ์. (2545). โบราณคดีและประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2525). รายงานการวิจัย พุทธศาสนาแถบลุ่มทะเลสาบสงขลา ฝั่งตะวันออก สมัยกรุงศรีอยุธยา. สงขลา : สถาบันทักษิณคดีศึกษา มศว.สงขลา.

สุเพชร จิรขจรกุล. (2552). เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศด้วย โปรแกรม ArcGIS Desktop 9.3.1. นนทบุรี: เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2542). สงขลา. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.

อดิศร ศักดิ์สูง. (2554). ประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวใน ประเทศไทย. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

Jones, M. (2018). Community-driven heritage tourism development: A case study from rural America. Journal of Sustainable Tourism, 26(1), 34-51.

Smith, L., Wetherell, M., & Campbell, G. (2016). Developing historical learning spaces in contemporary communities. Heritage & Society, 9(2), 143-162.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23