การศึกษาและรวบรวมความเป็นมาและประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายของพื้นที่ตำบล ท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ประวัติศาสตร์, สมัยอยุธยาตอนปลาย, ตำบลท่าข้ามบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมความเป็นมาและประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลาย ของพื้นที่ตำบล ท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร และสนทนากลุ่มกับสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ ประกอบด้วยกลุ่มผู้นำศาสนา 3 ท่าน ผู้นำท้องถิ่น 4 ท่าน ปราชญ์ชาวบ้าน 3 ท่าน และกลุ่มประชาชน 5 ท่าน รวมจำนวน 15 รูป/คน
ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นมาและประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายของพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยบ้านท่าข้ามนั้น จากการศึกษาเอกสารสำคัญและการสัมภาษณ์ได้ระบุถึงตำนานตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมา มี 3 ตำนานได้แก่ ตำนานที่ 1 เดิมชื่อบ้านท่านางข้าม มาจากเรื่องเล่าว่าสมัยก่อนที่ภูเขาหลง (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่ที่ 5 บ้านหนองบัว) มีถ้ำซึ่งนางศักดิ์สิทธิ์อาศัยอยู่ ภายในถ้ำมีข้าวของเครื่องใช้มากมายโดยเฉพาะของใช้สำหรับการจัดเลี้ยง เช่น ถ้วย ชาม ช้อน หม้อ ต่าง ๆ ชาวบ้านในละแวกนั้นเมื่อมีการจัดเลี้ยงหรืองานบุญที่บ้าน จะไปที่ปากถ้ำนำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชานั่งลงพนมมืออธิษฐานขอยืมเครื่องใช้จาก นางผู้ศักดิ์สิทธิ์เมื่อจบคำอธิษฐานข้าวของเครื่องใช้ที่ต้องการก็จะปรากฏอยู่ตรงหน้า เมื่อเสร็จงานก็นำมาคืนที่ปากถ้ำ ต่อมาชาวบ้านที่ยืมของไปใช้แล้วไม่ยอมนำมาคืน หลายครั้งเข้านางบังเกิดความเสียใจจึงปิดปากถ้ำและเหาะหนีไปอยู่ที่อื่นโดยผ่าน ท่าข้าม ชาวบ้านจึงเรียกว่า ท่านางข้าม ต่อมากร่อนมาเป็น ท่าข้าม จนปัจจุบัน ส่วนตำนานที่ 2 เล่าว่า บ้านท่าข้ามแต่เดิมนั้น มีคลองขนาดใหญ่ ที่ชาวบ้านที่เดินทางเข้าเมืองต้องเดินข้ามคลอง จึงเรียกกันติดปากว่า ท่าข้าม และตำนานที่ 3 เล่าว่า เหตุที่เรียกว่าท่าข้ามนั้น เนื่องจากมีหญิงสาวได้ข้ามคลองจากบ้านท่าข้ามคลองไปยังท่านางหอมและเสียชีวิตลง ซึ่งผลจากการศึกษาเอกสารสำคัญ และการสนทนากลุ่มพร้อมทั้งสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ ให้ข้อมูลสอดคล้องกันถึงความเป็นมาและประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายของพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ว่าเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายมีความเป็นมาดังที่ได้ศึกษา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. กรมการศาสนา. กองพุทธศาสนสถาน (2540). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 16. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
______. (2555). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องแนวทางการพัฒนาและประเมิน สถานพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.
คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2563). ประวัติศาสตร์อยุธยา: ห้าศตวรรษสู่โลกใหม่. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
จรูญ หยูทอง. (2564). รากเหง้าและเบ้าหลอม: ท่าข้าม ชุมชนร่วมสมัยตอนปลาย. พิมพ์ครั้งที่ 1. สงขลา: นำศิลป์.
ชัยวุฒิ พิยะกูล. (2554) ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ: สงขลา.
ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. (2547) ไทยในมาเลเซีย. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). การเมืองไทยสมยัพระเจา้กรุงธนบุรี. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: มติชน.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2552) เรือนไทย บ้านไทย. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2525). รายงานการวิจัย พุทธศาสนาแถบลุ่มทะเลสาบสงขลา ฝั่งตะวันออก สมัยกรุงศรีอยุธยา. สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา มศว.สงขลา.
______. (2542). “ศาลากลางหน” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ เล่ม 15. กรงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
______. (2542) โนรา ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ เล่ม 8. กรงเทพมหานคร: อมรินทร์การพิมพ์.
ยงยุทธ ชูแว่น. (2550). อำนาจทางการเมืองในความสืบเนื่องบทบาทการค้าของเมืองสงขลา ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 22 ถึง ปลายพุทธศตวรรษที่23 ใน คาบสมุทรไทย ในราชอาณาจักรสยาม. ยงยุทธชูแว่น บรรณาธิการ. ปทุมธานี: นาคร.