ภาวะผู้นําตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นํา, การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ภาวะผู้นำตามหลักธรรมพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จังหวัดเลย 2) เพื่อเสนอรูปแบบแนวทางการปฏิบัติ ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมโดยอาศัยกระบวนการวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จังหวัดเลย และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 113 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทั้งโดยรวมและรายด้านตามวิธีของลิเคิร์ต แล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ค่าเฉลี่ย 5 ระดับ
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. สภาพทั่วไป ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 จังหวัดเลย โดยภาพรวมรายด้านเมตตา
ด้านกรุณา ด้านมุทิตา ด้านอุเบกขา ระดับสูงสุด คือ ภาวะผู้นํา ของผู้บริหารสถานศึกษาคือ ด้านเมตตา ค่าเฉลี่ย ( = 4.63 ), (SD = 58) รองลงมาคือ ด้านทุทิตา ค่าเฉลี่ย ( = 4.63), (SD = 1.53) และ ดานกรุณาค่าเฉลี่ย ( = 4.63), (SD = 1.51) ตามลำดับ สวนด้านที่มีในระดับต่ำที่สุดคือ ภาวะผู้นํา ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านอุเบกขา ค่าเฉลี่ย ( = 4.45), (SD = 1.69) โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน ค่าเฉลี่ย ( = 4.58), (SD = 1.57) อยู่ในระดับมาก - 2. รูปแบบแนวทางการปฏิบัติ ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 จังหวัดเลย ด้านความเมตตา มีกิจกรรมร่วมกันทำงานเป็นทีม ทำให้เกิดความรัก ด้านความกรุณา ปรึกษาหาหรือในการทำงานร่วมกัน โดยยึดความกรุณาหรือการให้ มีความเอื้ออาทรยามเพื่อนลำบาก ด้านมุทิตา มีการแสดงออกที่ชัดเจนในด้านของการยินดีที่บ่งบอกถึงการแสดงความมุทิตาจิตอย่างชัดเจนเช่นอวยพรวันคล้ายวันเกิด การโยกย้าย เกษียณอายุราชการ ด้านอุเบกขา ทำตามกฎเกณฑ์ระเบียบแบบสายกลางโดยบุคลากรทุกคนปฏิบัติตาม
- 3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 ด้านความเมตตา มีกิจกรรมส่งเสริมความมีเมตตา เช่นการแผ่เมตตากิจกรรมหน้าเสาธง ทักทาย ไหว้ยิ้ม ด้านกรุณา จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมมุ่งเน้นเรื่องมีความกรุณา ด้านมุทิตา มีกิจกรรมการแสดงความยินดี เมื่อเพื่อนร่วมงานประสบความสำเร็จในทุก ๆ ด้าน เช่นการมุทิตาจิตการเกษียณอายุราชการ หรือการโยกย้าย ด้านอุเบกขา ผู้บริหารเป็นควรแบบอย่างที่ดี ครองตน ครองคน ครองงาน มีคุณธรรม จริยธรรม
References
กระทรวงศึกษาธิการการ. (2560) หลักสูตรพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา,.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556) การวิจัยเบื้องตน. พิมพครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน,
ผองพรรณ ตรัย. (2555) มงคลกุล. “การวิจัยแบบประสม: ทางสายกลางของการวิจัย”. การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร,.
พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ. (2559) ภาวะผู้นํา. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
พระธรรมโกศาจารย (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549) พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จํากัด.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2562) คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ทีพีเอ็มเพรส,
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2541) คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
ลวน สายยศ. (2538) เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพสุวีริยาศาสตร จํากัด.
สุนทร โคตรบรรเทา. (2560) ภาวะผู้นําในองค์สถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน,
กฤษดา ปาวงค์. (2561) “ภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร”. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จารุวรรณ นูสา. (2564) “องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2”. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เตือนใจ สุนุกุล. (2562) “ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2”. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธงชัย วรไพจิตร. (2561) “สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1”. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธัญญามาศ แดงสีดา. (2565) “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกริก.
เบ็ญจมาศ หนูไชยทอง. (2561) “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1”. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
พนิดา งามขุนทด. (2562) “ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อภาวะผู้นําและความสามารถในการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา”. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระภัทรพงษ์ ฐิตญาโณ (ปิดตาระโพธิ์). (2561) “การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1”. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
พระมนัส อคฺคธมฺโม (กอนใหญ่), (2555) “ภาวะผู้นําของผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร”. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
พระมหาวุฒิมา ปญญฺวุฑฺโฒ (เถาว์หมอ). (2561) “ภาวะผู้นําตามหลักพรหมวิหาร 4 ของสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร)”. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาศักดิ์ชัย อภิชาโต (ลีทหาร). (2562) “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําของผู้บริหารกับสมรรถนะหลักของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี”. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอานนท์ จนฺทวํโส (มหตระกูลรังสี). (2561) “สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1”. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมานิต เตชวโร อุดนอก. (2550) “รัฐศาสตร์แนวพุทธ: พรหมวิหาร 4 กับนักปกครอง”. ใน วิทยานิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระสุวรรณภูมิ ธมฺมรโต (อินทร์รัมย์). (2561) “ระบบการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธบริหารการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัตนา นาคมุสิก. (2559) “ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3”. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
วัลยา ไชยธารี. (2559) “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารโดยใช้โรงเรียน เป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา,
อรวรรณ ภัทรดำเนินสุข. (2564) “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม”. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อาซีซ๊ะ ยีหะมะ. (2560) “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายธารามิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1”. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
อุทุมพร จันทร์สิงห์. (2561) “ความสัมพันธ์ระหว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2”. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.