ทักษะการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีม ของครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ทักษะการตัดสินใจ, การทำงานเป็นทีมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการตัดสินใจกับการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษา และ 4) ศึกษาทักษะการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 37 คน และครูผู้สอน จำนวน 99 คน รวม 136 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น แล้วสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
- ทักษะการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งในภาพรวมและรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก
- การทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
- ทักษะการติดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษา ในระดับสูงมาก ( =.998) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ทักษะการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษา ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ การสร้างระบบควบคุมและประเมินผล การพัฒนาทางเลือก การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด การรับรู้และกำหนดปัญหา การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ และการนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ โดยมีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณกับตัวแปรเกณฑ์เท่ากับ .997**
สมการ = 1.000 + 1.000 +0. 991
Z = 1.000 + 1.000 + 0.991
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
วรัชญา นนทะสี. (2565). แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน. (2557). พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหาร กับประสิทธิผลโรงเรียน คาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2566 จากhttps://www.niets.or.th/th/.
Daft, R. L. (1999). Leadership theory and practice.Fort Worth, TX: Dryden Press.
Krejcie, R.V.,and Morgan D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 608 - 610.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. New York: Wiley & Son.
Stott, K. & Walker, A. (1995). Teams Teamwork & Teambuilding. Singapore: Prentice-Hall.