แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
คำสำคัญ:
การพัฒนาการจัดการศึกษา, การศึกษาปฐมวัย, ประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับสภาพปัจจุบันการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
(2) เปรียบเทียบการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษา ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการ ด้านการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามระหว่าง .69 - .88 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบรายคู่โดยวิธี LSD
ผลการวิจัย พบว่า
- การจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- ผลเปรียบเทียบการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน
- แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ทั้ง 6 ด้าน มี 17 แนวทาง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
กฤติยา นุชเกษม. (2565). การศึกษาสภาพการนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสู่การปฏิบัติของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. ใน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา.
คนาวรรณ พันธ์โชติ. (2559). สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. ใน ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ดาริน ชัยวงค์. (2562). แนวมางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาเทิดไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. ใน การค้นคว้าอิสระการศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บริษัท. สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ปราณิสรา แพหมอ. (2562). รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาเอกชน จังหวัดสมุทรปราการ. ใน ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ผกามาศ มาตย์เทพ. (2561). สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. ใน ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาล์น.
สุรังรอง ชัยมัง. (2563). ความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอวารินชาราบจังหวัดอุบลราชธานี. ใน ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2565. สุรินทร์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
อมรรัตน์ บุญเสนอ. (2560). การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Taro Yamane. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.