การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1
คำสำคัญ:
หลักสูตรฝึกอบรม, การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ, กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง 4) เพื่อประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย หลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินความสามารถการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก แบบประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติทดสอบ t-test แบบ One Sample
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานหลักสูตรฝึกอบรม พบว่าเป็นหลักสูตรที่มีกระบวนการพัฒนาที่เสริมสร้างให้ครูมีองค์ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ตามความสามารถของครู ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก โดยใช้กระบวนการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง ในการช่วยเหลือให้คำแนะนำ และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา 2) ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.50, S.D.=0.17) เมื่อนำไปศึกษานำร่อง พบว่าหลักสูตรมีความเป็นไปได้ต่อการนำไปใช้ 3) หลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 ครูมีความรู้และสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 4) ผลประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตร ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.43, S.D.=0.17)
References
กิติชัย แสนสุวรรณ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการวิจัย ของครูพลศึกษาระดับมัธยมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). รายงานเฉพาะเรื่องที่ 12 หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษา.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ทองฟู ชินะโชติ. (2540). การฝึกอบรมกับการพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะรัฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธารทิพย์ นรังศิยา. (2559). การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จของการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงครู. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11(2), 235-250.
ยศวัฒน์ คำภู. (2562). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐาน วิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
รุจิร์ ภู่สาระ. (2551). การพัฒนาหลักสูตร:ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
ศุภวรรณ สัจจพิบูล. (2560). แนวคิดการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 37(1), 203-222.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2533.กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562ข). รายงานผลการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษา ตอนต้นสำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สลิลนา ภูมิพาณิชย์ (2560) การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง สำหรับครูในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ใน วิทยานิพนธ์ กศ.ด. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Cherrington, David J. (1995). The Management of Human Resource. Englewood Cliffs: Pretice Hall International.
Darling- Hammond, L. & Rothman, R. (2011). Teacher and Leader Effectiveness in High Performing Education Systems. Washington, DC: Alliance for Excellent Education and Stanford, CA: Stanford Center for Opportunity Policy in Education.
Gordon, S. P. (2004). Professional development for school improvement: Empoweringlearning communities. Boston: Pearson.
Gottesman, B. L., & Jennings, J. O. (2000). Peer coaching for educators. Pennsylvania: Technomic.
Homhuan, D., Kaewurai, W., Yatale, T., & Onthanee, A. (2016). The development of curriculum to encourage learning management competency for community college teachers. Journal of Education Naresuan University, 18(2), 13-24. [in Thai]
Miller, P. S., Salmela, J. H., & Kerr, G. (2002). Coaches' perceived role in mentoring athletes. International journal of sport psychology, 33, 4(410-430).
Mink, O. G., Owen, K. Q., & Mink, B. P. (1993). Developing high-performance people: The art of coaching reading. Massachusetts: Addision-Wesley
Ornstein, A. G., & Hunkins, F. P. (2004). Curriculum foundation, principles and issuses. New York: Pearson Education.
Smith, R.M. (1982). Learning How to Learn : Applied Theory For Adult. Chicago : Follett Publishing Company.
Sullivan, S., & Glanz, J. (2005). Supervision that improves teaching: Strategies and techniques. Thousand Oaks, CA: Corwin.
Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt, Brace and World.
Thorpe, S., & Clifford, C. (2003). The coaching handbook: An action kit for trainer and managers. London: Kogan page.
Tyler, R. (1968). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: The University of Chicago.