แนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
คำสำคัญ:
สุขภาพองค์การ, สถานศึกษา, โรงเรียนประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 2) เสนอแนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธีประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการจำนวน 206 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 6 คน นักวิชาการจำนวน 2 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1. สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 ปัจจุบันสุขภาพองค์การ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีเป้าหมายร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับสูงสุด ส่วนด้านด้านการมีนวัตกรรมในการทำงานมีค่าเฉลี่ย เป็นอันดับต่ำสุดและมีปัญหาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีนวัตกรรมในการทำงานมีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับสูงสุด ส่วนด้านการมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ น้อยเป็นอันดับต่ำสุด 2. แนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สถานศึกษาควรนำแนวทางดังนี้ไปปฏิบัติแบ่งเป็นรายด้านดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน มีทั้งสิ้น 4 รายการปฏิบัติ ด้านที่ 2 ด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีรายการปฏิบัติทั้งสิ้น 3 รายการปฏิบัติติ ด้านที่ 3 ด้านการบริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสม มีรายการปฏิบัติทั้งสิ้น 3 รายการ ด้านที่ 4 ด้านการทำงานเป็นทีม มีทั้งสิ้น 5 รายการปฏิบัติ ด้านที่ 5 ด้านขวัญกำลังใจในการทำงาน มีรายการปฏิบัติทั้งสิ้น 4 รายการ ด้านที่ 6 ด้านการมีนวัตกรรมในการทำงาน มีรายการปฏิบัติทั้งสิ้น 3 รายการ
References
จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคน สร้างผลงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เต๋า.
ชัชวาลย์ ทัตศิวัช (2550). แนวความคิดและทฤษฎีเชิงระบบในการศึกษาองค์การและการเมืองวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงคกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2 (2), 51 – 70.
แก้วขวัญ เอียดศิริพันธ์. (2552), การพัฒนาตัวบ่งชี้สุขภาพองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 2 . ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อรัญญา สารีโพธิ์. (2553), ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย. ใน วิทยานิพน์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
กรรณิกา ปัญญะติ. (2558), ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับสุขภาพองค์การ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. ใน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยพะเยา.
สินีนาฏ พรมมิ. (2557), ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การกับการบริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
ฐิตารีย์ ตรีเหรา.(2556), สุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร
วรรณพิมพ์ หนูมงกุฎ. (2557), สุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนทั่ดการเรียนการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.
สุรศักดิ์ เจริญผล. (2558), สุขภาพองค์การของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุลาบมหามงคล. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
หยาดอัมรินทร์ ศิริขันธ์.(2562), ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การของสถานศึกษากับความทุ่มเทในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมป์.
Mustafa Toprak, Bulent Inandi, Ahmet Levent Colak. (2015), Do Leadership Styles Influence Organizational Health? A Study in Educational Organizations. International Journal of Educational Methodology, 1, 19 - 26.
Ercan & Abidin. (2020), Organizational Health Scale: A Scale Development Study. Canadian Center of Science and Education.