ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการวัดตามมาตรฐานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จีรพัฒน์ แก้วจันทร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • กานดา ผรณเกียรติ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • อธิพงษ์ เพชรสุทธิ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนกฤติ โพธิ์เงิน มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การบริหารจัดการวัด, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยด้านการบริหารจัดการวัดตามมาตรฐานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาระดับการบริหารจัดการวัดตามมาตรฐานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในกรุงเทพมหานคร และ 3. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการวัดตามมาตรฐานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าอาวาสวัด ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 210  รูป และพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะอำเภอ  จำนวน 10 รูปเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ จะนำมาวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับปัจจัยด้านการบริหารจัดการวัดตามมาตรฐานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ด้านภาวะผู้นำด้านองค์กรและด้านการสนับสนุนทางสังคมโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
  2. ระดับการบริหารจัดการวัดตามมาตรฐานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง
  3. การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ระหว่างปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านองค์กร และปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม พบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่าง 0.522 ถึง 0.719

References

บัญยงค์ บรรพบุรุษ. (2552). การปฏิบัติตามบทบาทของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัด จังหวัดอ่างทอง. ใน การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

บุญมา คุณสมฺปนฺโน. (2548). คู่มือพระอุปัชฌา. กาญจนบุรี: ธรรมเมธี.

พระณัฎฐ์ธน จินตนา. (2553). ภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของเจ้าอาวาส และของผู้นำชุมชนต่อการบริหารจัดการพัฒนาวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนวัดหน้าพระธาตุและชุมชนวัดกลาง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พระมหากิตติทัศน์ นามนนท์. (2554). การศึกษารูปแบบการพัฒนาวัดเป็นศูนย์กลางชุมชนในจังหวัดอุตรดิตถ์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

พระมหาพรประสงค์ พุทธจันทร์. (2549). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระมหาสมพร มีชัย. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครปฐม. ใน สาขาวิชาพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาเสกสรรค์ แก้วทรัพย์. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัดในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์.

พระวิรุติ สานันท์. (2556). การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวัดหนองพลวง ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

พระสุวัฒน์ สุวฑฒโน. (2556). บทบาทของเจ้าอาวาสต่อการพัฒนาวัดเป็นศูนย์กลางชุมชนในอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

วัลลภ เดชไผ่. (2552). แนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นเขตปลอดอบายมุขด้วยหลักพุทธธรรม: ศึกษาเฉพาะกรณีวัดชลประทานรังสฤษฏ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานพระพุทธศาสนา. (2554). รายงานการประชุมคณะกรรมการ ฝ่ายบูรณะและพัฒนาวัดกองพุทธศาสนสถาน พ.ศ. 2554, ครั้งที่ 2/2554. 8 มิถุนายน 2554.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). ข้อมูลพระสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

Dhogi Nozhu. (2009). Social Science for Development. New York: American Book Company.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement. Boston: Houghton Mifflin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23