การนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
หลักฆราวาสธรรม;, ประชาชนในอำเภออัมพวา;, จังหวัดสมุทรสงครามบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 2) เพื่อเปรียบเทียบการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่มีตัวแปรอิสระต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จํานวน 375 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ที่ระดับความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-Way ANOVA) เมื่อพบข้อแตกต่างเป็นรายคู่ จะทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของ Scheffe (Post Hoc) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนข้อเสนอแนะใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่ตอบแบบสอบถามมีการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม รวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ผลเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่มีเพศต่างกัน มีการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน
มีการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ด้านสัจจะ ตั้งใจทำจริงในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พูดตามข้อเท็จจริง พูดด้วยความจริงใจเสมอ 2) ด้าน
ทมะ คิดถึงความจำเป็นในการประกอบอาชีพ คิดก่อนพูด เพื่อให้คนอื่นสบายใจ ตระหนักในการใช้ของที่จำเป็น 3) ด้านขันติ มีความอดทนต่ออุปสรรคต่าง ๆ ยับยั้งอารมณ์ของตนเอง
ฝึกความอดทนในการทำงาน 4) ด้านจาคะ มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเมตตา เสียสละเวลาในการช่วยเหลือผู้อื่น มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนรอบข้าง
References
าสิบตำรวจณัฐศักดิ์ แสนสุข. (2553). การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจตามหลักฆราวาสธรรม 4 : กรณีศึกษากองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัยมูลนิธิ. (2552). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 200 ปี แห่งพระราชวงศ์จักรี กรุงรัตน์โกสินทร์ พ.ศ. 2525. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
หนังสือพิมพ์มติชน. (2545). คอลัมน์ประชาชื่น.
พระแก้ว อินฺทโชโต (ชัยชนะ). (2553). การบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 . ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระครูสิริวงศานุวัตร ฐานทตฺโต (บุตรแสน). (2553). การนำหลักฆราวาสธรรมไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอวังหิน จังหวัดศรีษะเกษ. ใน วิทยานิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระทนงชัย อภิชโย (ศิริเคน). (2560). ศึกษาการพัฒนามนุษย์ตามหลักฆราวาสธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระปัญญา ฐานิสฺสโร (บุญโสม). (2560). ศึกษาหลักฆราวาสธรรม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตตามพุทธปรัชญาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระสมทบ ถิรปญฺโญ (รุ่งมิตรจรัสแสง). (2554). ภาวะผู้นำของเยาวชนตามหลักฆราวาสธรรม 4 : กรณีศึกษาโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมุห์สายัณ จนฺทวณฺโณ (หม้อกรอง). (2545). การศึกษาวิเคราะห์จาคะในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อุดม จันทิมา. (2549). การใช้หลักพุทธธรรมเรื่องทมะในการพัฒนาเยาวชนไทยในปัจจุบัน. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Kauffman, Stuart. The Adjacent Possible : A Talk with Stuart Kauffman.
Walker, Martin G. (2006.). LIFE! Why We Exist...And What We Must Do to Survive (Book Page) (Web Site), Dog Ear Publishing.