แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่, แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 และ 3) เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 131 คน และครูวิชาการ 94 คน รวมทั้งหมด 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า 1) องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษามี 6 องค์ประกอบดังนี้ (1) ด้านการมีวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง (2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ (3) ด้านการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ (4) ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (5) ด้านการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ (6) ด้านการนิเทศและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ 2) การประเมินสภาพภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
( = 4.27, S.D. = 0.19) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นเดียวกัน - ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่าแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 มีทั้งหมด 6 ด้าน 24 แนวทางการพัฒนา
- ระยะที่ 3 ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ทั้ง 6 ด้าน 24 แนวทางพบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิรัฐิติกาล สุทธานุช และคณะ. (2564). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 8(2), 46 - 55.
ธนพัฒน์ ลิ้มไพบูลย์ นิพนธ์ วรรณเวช และ สาโรจน์ เผ่าวงศากุล. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 37 - 48.
ธัญญลักษณ์ ผาภูมิ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุวีริยาสาส์นจำกัด.
ภารดี อนันต์นาวี. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก. วารสารศึกษาศาสตร์, 30(2), 40 - 55.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ; กรณีนานาทัศนะการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์.
รวิภา ศรีวัตร. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วิเชียร ทองคลี่ กานต์ เนตรกลาง และ กิติพงษ์ ลือนาม. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(3), 239 - 248.
วิศวะ ผลกอง (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การจัดการการศึกษา). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สุรินทร์: กลุ่มนโยบายและแผน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (2565). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน O - NET ปีการศึกษา 2564. สุรินทร์: กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.
สิริฉัตร รัตนสุวรรณ์ และตรัยภูมินทร์ ตรีตรีศวร. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ. (ครั้งที่ 13). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.