การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

ผู้แต่ง

  • ฉมาพันธ์ อาจแก้ว มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กรรณิกา ไวโสภา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบ, เทคโนโลยี, การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการ จัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเลย เขต 1 และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 400 คน เพื่อให้สอดคล้องโมเดลลิสเรล (Boomsma, 1983 อ้างถึงในนงลักษณ์ วิรัชชัย, 2542) ด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิเป็นรายอำเภอและนำมาสุ่มอย่าง่ายเลือกกลุ่มตัวอย่างจากอำเภอตามสัดส่วน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเลย เขต 1 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าแบบ 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.995 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการตรวจสอบความสอดคล้องและความเหมาะสมของโมเดลการวัด โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการวิจัยพบว่า

          1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเลย เขต 1 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์ 2) การกำหนดกลยุทธ์ 3) การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การ และ 4) การบริหารจัดการบุคลากร

          2) โมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเลย เขต 1 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ดัชนีทุกตัวผ่านเกณฑ์การประเมินความสอดคล้อง ในระดับดี โดยผลการตรวจสอบดัชนีความสอดคลองพิจารณาค่า Chi-square เท่ากับ 47.29 ค่า p-value (ของ ) เท่ากับ 0.27 ค่า df เท่ากับ 42 ค่า Chi-square/df เท่ากับ 1.13 NFI เท่ากับ 0.98 NNFI เท่ากับ 0.99 GFI เท่ากับ 0.95 AGFI เท่ากับ 0.93 CFI เท่ากับ 0.99 SRMR เท่ากับ 0.03 และ RMSEA เท่ากับ 0.02

References

กัลยรัตน์ เมืองสง. (2550). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.

คมกฤช พรหมฉิน. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ซาฝีน๊ะ แอหลัง. (2561). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ในหลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

เทื้อน ทองแก้ว. (2557). ลักษณะของบุคคลที่มีภาวะผู้นำ. เรียกใช้เมื่อ 29 มิถุนายน 2566จาก http//www.eme2.dbec.go.th.

ธัญรดี วิชาจารย์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นันทิยา คงเมือง และตรัยภูมินทร์ ตรีตรีศวร. (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุงเขต 1. วารสารวิชาการการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 13. 1716-1731.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2549). ภาวะผู้นําและผู้นําเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร. เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.

เมธี ศรีโยธา. (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน วิทยานิพนธ์. ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วรรณพล บูรัมย์ และคณะ. (2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สมาน อัศวภูมิ. (2549). การบริหารงานในสถานศึกษา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Davies J. Babrara and Davies Brent. (2004) Strategic Leadership (School leadership and Management, 23(1), 29-38

Diamantopoulos, A., Siguaw, J. A., & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL: A guide for the uninitiated. Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23