การบริหารกิจการบริการสาธารณะในบริบทของภาคีเครือข่าย: กลยุทธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ:
บริการสาธารณะ, เครือข่าย, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การบริหารกิจการบริการสาธารณะภายใต้บทบาทภาคีเครือข่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลยุทธ์และความร่วมมือกันของภาคีเครือข่ายควรเริ่มตั้งแต่การวางแผน การพัฒนาความสัมพันธ์ การจัดการทรัพยากร การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การเสริมสร้างการมีส่วนร่วม และการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการประเมินผลลัพธ์ในการบริหารกิจการบริการสาธารณะร่วมกับภาคีเครือข่ายจะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการที่มีคุณภาพสูงและพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน การใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายและการสร้างความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างความสำเร็จในการบริหารกิจการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
References
ณฐพนธ์ คงศิลา. (2564). กลไกและกระบวนการการบริหารจัดการเพื่อการบริการสาธารณะของหน่วยงานภาครัฐ. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 5(2), 35-47.
นิวัฒน์ ปะระมา. (2567). กลยุทธ์การบริหารงานการบริการสาธารณะแบบพหุภาคีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ลำปาง
เนตรชนก สูนาสวน, อำนวย บุญรัตนไมตรี, ชัยยงค์ พรหมวงค์, และอนันต์ เตียวต๋อย. (2565). การบริการสาธารณะและการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 296-306.
พระมหาโขตนิพิฐพนธ์ สุทฺธจิตโต และคณะ. (2561). รูปแบบของการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐ. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างยั่งยืนในยุค Thailand 4.0. 589-603
พงษ์พัต วัฒนพงศ์ศิริ และสุรีย์พร สลับสี. (2562). การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการบริหารการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. กรุงเทพมหานคร.
ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร, เอก ศรีเชลียง, ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ และไททัศน์ มาลา. (2561). แนวทางการบริการสาธารณะเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการบริการที่ดีแก่ประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงการณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 147-157.
วุฒิสาร ตันไชย. (2559). รูปแบบและประเภทการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
วสันต์ เหลืองประภัสร์, เกรียงชัย ปึงประวัติ, และชาย ไชยชิต. (2566). การยกระดับการมีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 22(3), 72-101.
. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
Grichawat Lowatcharin. (2020). A New Look of Public Administration. Khon Kaen; College of Local Administration, Khon Kaen University.
Klijn, E.H, B. Steijn, & J. Edelenbos. (2010). The impact of network management on outcomes in governance networks. Public Administration Review, 88(4), 1063-1082
McGuire, M. (2006). Collaborative public management: Assessing what we know and how we know it. Public Administration Review, 66(6), 33-34.
Topping, P.A. (2002). Managerial leadership. New York : McGraw-Hill.
Stephen Goldsmith & Williams D. Eggers. (2009). Governing by network, แปลโดย จักร ติงศภัทิย์ และกฤษฎา ปราโมทย์ธนาม (กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท, 2552), 26-31.
Starkey, P. (1997). Networking for Development. IFRTD (The International Forum for Rural Transport and Development.