บทบาทของผู้บริหารและคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชน ต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
บทบาทของผู้บริหาร, คุณภาพการให้บริการ, ความพึงพอใจของประชาชน, การให้บริการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร 2) วิเคราะห์บทบาทของผู้บริหารละคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารและคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารของพิชญ์ณิฐา พรรณศิลป์ คุณภาพการให้บริการของมิลเล็ต และการให้บริการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประเภทของการวิจัยเป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมวิธี ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์บริหารส่วนตำบล จำนวน 391,811 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์บริหารส่วนตำบล จำนวน 384 คน โดยได้มาจากวิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของเครชซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของอำเภอ ในจังหวัดสกลนคร จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- บทบาทของผู้บริหารละคุณภาพการให้บริการส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 43.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารและคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย ด้านสาธารณูปโภคชุมชน ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยควรมีการจัดระเบียบเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ด้านการบริการสาธารณสุขชุมชน และด้านพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรมีการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม
References
เกศสุดา โภคานิตย์ และ กีฬา หนูยศ. (2559). รายงานการวิจัยเรื่องบทบาทผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่นกรณีศึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ทศรัฐ จันยาง. (2555). ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงาน เทศบาลตำบลลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ในวิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
ธนสรร ธรรมสอน. (2558). ภาวะผู้นำทางการเมืองของนายกเทศมนตรีในการบริหารเทศบาลตำบล ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 10(1),171-190.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พระพลากร สุมงฺคโล. (อนุพันธ์) และคณะ (2561). รายงานการวิจัยเรื่องภาวะผู้นำท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21.วารสาร วิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5 (1).
พิชญ์ณิฐา พรรณศิลป์. (2557). บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2561). รายงานการวิจัยเรื่องการประเมินความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
มะลิวัณ สังเกตกิจ. (2556). ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการของกองทะเบียน เทศบาลตำบลบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. ใน วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยทองสุข.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และ อัครพงศ์ อั้นทอง. (2559). รายงานการวิจัยเรื่องความเข้าใจและทัศนคติของผู้บริหาร องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับ เป้าหมายอำนาจและบทบาทในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 29(1),15-35.
วัชรินทร์ สุทธิศัย และคณะ. (2561). รายงานการวิจัยเรื่องความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วินัย วงศ์อาสา, และ ภัชราภรณ์ ไชยรัตน์. (2559). รายงานการวิจัยเรื่องความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหาร ส่วนตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(1), 83-99.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553). วิธีวิทยาการประเมิน : ศาสตร์แห่งคุณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี ดุสิตสุทธิรัตน์ และคณะ. (2561). รายงานการวิจัยเรื่องความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางโปรง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. สมุทรปราการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
Cronbach, L.J. (1971). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York: Harper Collins.
Krejcie R. V. and Morgan D. W. (1970). Determining Sample Size for research Activities. Educational and psychological Management, 80, 608.