ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาและ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูจำนวน
315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ
อยู่ระหว่าง .67-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์
ค่าแปรปรวนทาง และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลงเชิงนวัตกรรม ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรเชิงนวัตกรรม ด้านการบริหารความเสี่ยงเชิงนวัตกรรม ด้านการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และด้านการมีส่วนร่วม
และทำงานเป็นทีมเชิงนวัตกรรม และ 2) ผลการเปรียบเทียบตามความคิดเห็นของครูจำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงานและขนาดโรงเรียน ในภาพรวม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560 -2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยโชติ รอดหลง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับประสิทธิผล
ของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภิรญา สายศิริสุข. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตปัญจภาคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภูริชญา เผือกพรหม. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มลฤดี นิลทัพ. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
วิทยากร ยาสิงห์ทอง และกนกอร สมปราชญ์. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา. ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กรกฎาคม - กันยายน 2560 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 234-244
เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อนุชิต โฉมศรี. (2562). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน มาตรฐานสากลในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร:สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อมรรัตน์ งามบ้านผือ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน
มัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา
ศาสตรมหาบณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Eagly, A. H. (2019). Gender Differences in Leadership Style and the Influence on Organizational Creativity and Innovation. Leadership Quarterly, 101-113.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. In Educational and Psychological Measurement. 30 (3) : 607 – 610
Likert, Renic. (1993). A Technique for the Measurement of Attitude. Chicago
: Read Mc Nally.
Loader, A. (2016). Why should you show innovative leadership. from
https://blog.castle.co/innovative-leadership
Vecchio, R. P. (2017). The Role of Gender in the Leadership and Innovation
Process: A Meta-Analysis. Journal of Business and Psychology, 373-388.