แนวทางการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดในจังหวัดเพชรบุรี: การวิเคราะห์เชิงนโยบายและการปฏิบัติการ

ผู้แต่ง

  • ไพโรจน์ เจริญยิ่ง วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วรสิทธิ์ เจริญพุฒ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ไกร บุญบันดาล วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

การป้องกันปราบปราม, การแพร่ระบาดของยาเสพติด, การวิเคราะห์นโยบายและ การปฏิบัติการ จังหวัดเพชรบุรี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีความประสงค์จะวิพากษ์แนวทางการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดในจังหวัดเพชรบุรี จากการวิเคราะห์นโยบายและการปฏิบัติการของรัฐบาลนับเนื่องจากรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร จนถึงรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากการกำหนดนโยบายการนำนโยบายไปปฏิบัติการประเมินผลนโยบายรวมถึงการปฏิบัติการในสามนโยบายหลักนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด นโยบายการปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดและนโยบายบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติด ของจังหวัดเพชรบุรี แนวทางการจัดการการแพร่ระบาดของยาเสพติดที่เหมาะสมประกอบด้วย มาตรการ การสร้างสถาบันที่ควบคุมกำกับการใช้สารเสพติดและทีมงานที่เพียงพอให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ปฏิบัติและงบประมาณทั่วประเทศ พร้อมกับมีงานวิจัยและหน่วยงานวิจัยด้านยาเสพติดในทุกด้านที่เกี่ยวข้องและที่สำคัญที่สุดการบังคับใช้กฎหมายที่เที่ยงธรรมและเสมอภาค โดยทำการควบคุมและนำเสนอผลร้ายของยาเสพติดอย่างสร้างสรรค์และต่อเนื่อง ทำการควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดด้วยการยกระดับการแก้ปัญหาความยากจน ทำลายแหล่งผลิตสารเสพติดภายในจังหวัดเพชรบุรีให้หมดสิ้น และทำการยึดทรัพย์ของผู้ผลิตยาเสพติดและผู้จำหน่ายมาเป็นสมบัติของแผ่นดินและรณรงค์การต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดยาต่อเนื่องจากนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของจังหวัด จัดการให้ความรู้ต่อเยาวชนในการป้องกันภัยจากสารเสพติดอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีสื่อในการชี้นำให้ต่อต้านภัยจากสารเสพติดในเชิงบูรณาการทำการปรับปรุงเทคโนโลยีในการควบคุมยาเสพติดอย่างสม่ำเสมอ 

References

ทีมผู้ประสานงานจังหวัดเพชรบุรี สำนักงาน ปปส. ภาค 7. (2566). รายงานผลการปฏิบัติงานทีมผู้ประสานงานจังหวัดเพชรบุรี สำนักงาน ปปส. ภาค 7 ตามแผนประชารัฐร่วมใจสร้างหมู่บ้าน/ชุมชน มั่นคง ปลอดภัยยาเสพติด.

นริศรา จริยะพันธุ์, จินดา ลักษณ์วัฒนสินธุ์, และเกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์. (22565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่ง ผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 12(2), 100-112.

นำพล สุวรรณกาศ. (2557). การเปลี่ยนรัฐบาลกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของ รัฐบาลอภิสิทธิ์และรัฐบาลยิ่งลักษณ์. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์| Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 25(2), 119-130.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. (2567). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. เรียกใช้เมื่อ 22 กันยายน 2567 จาก https://www.nccd.go.th/upload/news/1(94

Van Horn, C. E., & Van Meter, D. S. (1975). The policy implementation process: A conceptual framework. Administration and Society, 6(4), 447.

Law, A. S. (2021). Embassy of the People's Republic of China in the United States of America.

Lininger, T. (2022). After the war on drugs: Challenges following decriminalization. The University of New Hampshire Law Review, 20(2), 8.

Van Horn, C. E., & Van Meter, D. S. (1977). The implementation of intergovernmental policy. Policy studies review annual, 1(1), 97-120.

Hawkins, J. D. (1995). Preventing substance and abuse. Building a safer society: Strategic Approaches to Crime prevention, Crime and justice, 19.

Xu, G. (2000). Anti-western nationalism in China, 1989-99. World Affs., 163, 151.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23