การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียน โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์สงฆ์ ไชยะบุลี

ผู้แต่ง

  • พระบัวใส วงศ์จันทร์ทา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
  • สุวิญ รักสัตย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักอิทธิบาท 4, การเรียนของนักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนที่มี อายุ เกรดเฉลี่ย ระดับชั้น ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์สงฆ์ ไชยะบุลี การวิจัยเชิงปริมาณมีแบบสัมภาษณ์ประกอบ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน ให้ข้อมูลสำคัญจากการสัมภาษณ์ จำนวน 5 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test F–test วิเคราะห์ความแตกต่างด้วยวิธีการของ Scheffe  ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงทฤษฎี

             ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ผลการวิเคราะห์ระดับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์สงฆ์ ไชยะบุลี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.84) ด้านฉันทะ
    มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (  = 3.89) รองลงมาคือ ด้านวิริยะ และด้านจิตตะ (  = 3.83) ส่วน วิมังสา  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (  = 3.81)
  2. 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียน ที่มี อายุ ระดับชั้นและเกรดเฉลี่ย ต่างกัน พบว่า อายุและระดับชั้น ต่างกัน โดยรวม แตกต่างกันที่ระดับ .001 และนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยต่างกัน โดยรวม แตกต่างกันที่ระดับ .05
  3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียน พบว่า ครูผู้สอนมีควรวางแผนการจัดการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยเพื่อสร้างความสนใจให้นักเรียนมีความพอใจ ควรส่งเสริมให้มีความรู้สึกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใด ๆ ส่งเสริมให้นักเรียนมีการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาในการเรียน และครูผู้สอนควรพิจารณาใคร่ครวญดำเนินตามหลักสูตรและนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยในการเรียนการสอน

References

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิ่น มุทุกันต์. (2539). ปฏิบัติตามธรรมะประสบความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: มงคลสาร

พระเจริญ บุญทศ,ดร. และ ดร.ลัดดาวัลย์ คงทอง. (2563). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียน โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดงาน กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขตกลุ่ม 3. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย.

พระจักร จกฺกวโร (เหมือนปน). (2564). การจัดการเรียนรูตามหลักอิทธิบาท 4 กลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. ใน ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2525 ค). พระสูตรและอรรถกถาแปล อังคุตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่มที่ 2 ภาคที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วรทัศน์ หวังวรวุฒิสกุล. (2565). การปลูกฝังคุณธรรมตามหลักอิทธิบาทสี่ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะ สำคัญของผู้เรียน โรงเรียนกลุ่มรัตนโกสินทร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 5(3).

ส่งศรี ชมพูวงศ์. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23