การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานบุคคล โรงเรียนผาโอ นครหลวงพระบาง
คำสำคัญ:
หลักสัปปุริสธรรม 7, การบริหารงานบุคคลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคล 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคล ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุงาน และตำแหน่งงานต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคลโรงเรียนผาโอ นครหลวงพระบาง การวิจัยเชิงปริมาณมีแบบสัมภาษณ์ประกอบ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test F–test วิเคราะห์ความแตกต่าง ด้วยวิธีการของ Scheffe ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงทฤษฎี
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ผลการวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.85) ด้านธัมมัญญุตา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.95) รองลงมาคือ ด้านอัตถัญญุตา ( = 3.89) ส่วน ด้านปุคคลัญญุตา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.76)
- 2. ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคล พบว่า บุคลากรที่มีเพศต่างกัน โดยรวม แตกต่างกันที่ระดับ .001 อายุต่างกัน แตกต่างกันที่ระดับ .01 ส่วนระดับการศึกษา, อายุงาน และ ตำแหน่งต่างกัน ไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05
- ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคล พบว่า ควรวางแผนการบริหารงานบุคคลให้เป็นระบบ ตรวจสอบการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่งเสริมการมีกิจกรรมที่สนับสนุนนการพัฒนาตนเพื่อเพิ่มความรู้ ควรทำงานโดยจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นเข้าใจบริบทและปัญหาในองค์กร ทำความเข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคลเพื่อให้การบริหารงานบุคคลมีประสิทธิภาพ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546).การบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล, กรุงเทหมานคร :กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546).คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล, กรุงเทพมหานคร:กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
พระครูพิศาลปริยัตยานุกูล. (2561). แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. (พุทธบริหารการศึกษา).บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาชัยวัฒน์ จตฺตมโล (พรหมสนธิ). (2560 ข). รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 4. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต พธ.ด. (พุทธบริหารการศึกษา).พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2525 ค). พระสูตรและอรรถกถาแปล อังคุตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่มที่ 2 ภาคที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ส่งศรี ชมพูวงศ์. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ :บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.