ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • บุศริน เหมือนพร้อม มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • ดรุณี ปัญจรัตนากร มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี, ผู้บริหารสถานศึกษา, สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร และ
2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู จำนวน 248 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ความเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล การจัดการด้านเทคโนโลยี การส่งเสริมความรู้ที่เหมาะสมด้านเทคโนโลยีเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ วัฒนธรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และวิสัยทัศน์และการวางแผนด้านเทคโนโลยี และ              2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามระดับการศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยเทคนิคการใช้ SPSS (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

ศุภชัย โพธิ์ศรี และวรชัย วิภูอุปรโคตร. (2567). การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 30 (1), 131-144.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเรื่อง นโยบายการพัฒนาอาชีวศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

Flanagan, L., & Jacobsen, M. (2015). Technology Leadership for the Twenty-firstCentury Principal. Journal of Educational Administration, 41(2), 124-142.

Fullan, M. (2016). The New Meaning of Educational Change (5th ed.). Teachers College Press.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Rogers, E. M., Singhal, A., & Quinlan, M. M. (2014). Diffusion of innovations. In An integrated approach to communication theory and research, 432-448.

Venkatesh, V., & Morris, M. G. (2000). Why don’t men ever stop to ask for directions? Gender, social influence, and their role in technology acceptance and usage behavior. MIS Quarterly, 24(1), 115-139.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23