การศึกษารสวรรณคดีบาลีในอรรถกถาธรรมบท

ผู้แต่ง

  • พระมหาประทีป อภิวฑฺฒโน(แถวพันธุ์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย
  • พระมหาประหยัด ปญฺญาวโร(สุนนท์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย
  • พระมหาไพฑูรย์ สิริธมฺโม(ชัยกุง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย
  • พระวันชัย ภูริทตฺโต (อนนตรี) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย
  • เจษฎา มูลยาพอ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย

คำสำคัญ:

วรรณคดี, รสวรรณคดีบาลี, อรรถกถาธรรมบท

บทคัดย่อ

คัมภีร์อรรถกถาธรรมเป็นคัมภีร์ที่มีรสวรรณคดีครบถ้วนน่าศึกษาวิจัย ฉะนั้น การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและความหมายรสวรรณคดีบาลี 2) เพื่อศึกษารสวรรณคดีในอรรถกถาธรรมบท 3) เพื่อวิเคราะห์รสวรรณคดีในอรรถกถาธรรมบท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเอกสาร ตำรา หนังสือที่เกี่ยวข้องกับรสวรรณคดี การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกเฉพาะคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทเป็นหลักและตำรา หนังสือที่เกี่ยวข้องกับรสวรรณคดีบาลี กาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

วรรณคดีบาลีคือคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ พระธรรม คำสอนที่เกี่ยวกับหลักธรรม พระวินัย กฎระเบียบสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จุดเริ่มต้นของวรรณคดีบาลี คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงต่อสาวกและถูกรวบรวมเอาไว้ ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมคัมภีร์ต่างๆ เช่น อรรถกถาเป็นต้น เพื่ออธิบายและขยายความในพระธรรมและพระวินัย ทำให้วรรณคดีบาลีมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

          อรรถกถาธรรมบทเป็นหนังสืออธิบายเรื่องราวในพระไตรปิฎก มีหลายเรื่องและมีรสวรรณคดี หรืออารมณ์ที่แตกต่างกันถึง 9 ชนิด คือ สิงคารรส ความรัก, หัสสรส ความขบขัน, กรุณารส ความสงสาร, รุทธรส ความโกรธ, วีรรส ความกล้าหาญ, ภยานกรส ความกลัว, วิภัจฉรส ความน่ารังเกียจ, อัพภูตรส ความแปลกประหลาด, สันตรส ความสงบ

          การศึกษารสวรรณคดีจากวรรณคดีบาลีสะท้อนให้เห็นรสวรรณคดีบาลี มีประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะทางภาษาบาลี การวิเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ และความเข้าใจในอารมณ์ของมนุษย์ นอกจากนี้ ยังช่วยให้เราเรียนรู้ค่านิยม วัฒนธรรม และพัฒนาทักษะการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น

References

กุสุมา รักษมณี. (2549). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทธรรมสารจำกัด.

ลูกศิษย์วัดท่ามะโอ. (2543). สุโพธาลังการนิสสยะ. สงขลา: วัดหาดใหญ่สิตาราม.

พระมหาประทีป อภิวฑฺฒโน. (2561). สารัตถะในธรรมบทและธัมมปทัฏฐกถา. (พิมพ์ครั้งที่1).ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2550). ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2552). ธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2552). ธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2552).ธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2552). ธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

แย้ม ประพัฒน์ทอง .(2504). คัมภีร์สุโพธาลังการ ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29