ประโยชน์และคุณค่าของวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องจอมจักรพรรดิอโศกของวศิน อินทสระ: การศึกษาเชิงวิเคราะห์
คำสำคัญ:
วรรณกรรมพระพุทธศาสนา, จอมจักรพรรดิอโศก, วศิน อินทสระบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวรรณกรรมพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องจอมจักรพรรดิอโศกของวศิน อินทสระ 3) เพื่อวิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าของวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องจอมจักรพรรดิอโศกของวศิน อินทสระ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก วรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องจอมจักรพรรดิอโศกของวศิน อินทสระ และเอกสารทุติยภูมิ ได้แก่ อรรถกถา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 8 รูป/คน และนำเสนอด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัยและเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
วรรณกรรมพระพุทธศาสนามีรากฐานมาจากหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ผ่านการรวบรวม เรียบเรียง ถ่ายทอดโดยพระเถระในรูปของวรรณกรรมมุขปาฐะและที่เป็นลายลักษณ์อักษร ความสำคัญอยู่ในบริบทของหลักคำสอนและการปฏิบัติตนตามหลักอัฏฐังคิกมรรคที่ส่งผลให้เกิดความศรัทธา การสร้างคุณงามความดี ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์และคุณค่าเชิงวรรณกรรมและเชิงประวัติศาสตร์ที่ทำให้ผู้ศึกษาสามารถละในสิ่งที่เป็นโทษและทำสิ่งที่ดีเพื่อการเข้าถึงบรมสุขได้
วรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องจอมจักรพรรดิอโศกเป็นผลงานทางวรรณกรรมอาจารย์วศิน อินทสระ ผลงานชิ้นนี้เป็นการถ่ายทอดพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกผ่านการเขียนเชิงนวนิยายอิงหลักธรรม แสดงให้เห็นถึงพระราชจริยวัตรและเป็นการเทิดพระเกียรติจอมจักรพรรดิอโศก ควบคู่ไปกับการนำเสนอหลักธรรมทางพุทธศาสนาด้านความรัก การให้ทาน การไม่เบียดเบียน และการปกครอง
วรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องจอมจักรพรรดิอโศกมีประโยชน์และคุณค่าด้วยกัน 4 ด้าน คือ ด้านวรรณกรรมที่แสดงให้เห็นอารมณ์สะเทือนใจ 9 รสโดยเฉพาะอัตถรสเป็นจุดโดดเด่น ด้านประวัติศาสตร์ เป็นการเน้นพระราชกรณียกิจในแต่ละช่วงเวลาของพระเจ้าอโศกที่ทรงเป็นแบบอย่างของพุทธศาสนิกชนที่ดี ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นระบบและวิธีเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกที่ส่งผลให้เกิดความศรัทธาในขอบเขตที่กว้างไกล 4) ด้านคติธรรม เป็นภาพแห่งความเป็นจริงของชีวิตในเชิงประจักษ์ที่ต้องดำรงตนด้วยความไม่ประมาท พึงกระทำแต่กรรมดี
References
จี. ศรีนิวาสัน. (2545). สุนทรียศาสตร์. (สุเชาว์ พลอยชุม, แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ที.ดับบลิว. ริส เดวิดส์. (2562). พระพุทธศาสนาในชมพูทวีป. (สมัย สิงหศิริ, แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ปีเตอร์ ฟรานโคพาน. (2563). เส้นทางสายไหม. (คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์, แปล). กรุงเทพมหานคร: บุ๊คสแคป.
พระณัฐวุฒิ มหาวิริโย (ก้อนจา). (2563). ศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระพุทธโฆสเถระ. (2563). ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล เล่ม 1. (กองตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย, แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหานามเถระ และคณะบัณฑิต. (2553). คัมภีร์มหาวงศ์ ภาค 1. (สุเทพ พรมเลิศ, แปล). พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการกฤษดา สุทฺธิญาโณ (เรืองศิลป์). (2561). ศึกษาอิทธิพลของปัญญาสชาดกที่มีต่อสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2557). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม ฉบับครบ 200 ปี แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ยูจีน เบอร์นูฟ. (2566). พระเจ้าอโศก. (สุข พูลสุข, แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2544). จอมจักรพรรดิอโศกฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
วิจิตตรี ธรรมรักษ์. (2554). การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมอิงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องพระอานนท์พุทธอนุชา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิชัย กิตติยะอำพล. (2558). ศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระเจ้าอโศกมหาราชที่มีต่อพระพุทธศาสนาจากจารึกอโศก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล. (2548). เดอะ ไลท์ ออฟ เอเชีย ของเซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์: ภูมิปัญญาตะวันออกในโลกตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ, อักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2557). พุทธประวัติ เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 56). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2526). ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียลังกา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน). (2533). การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
เสถียร โพธินันทะ. (2543). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
อาร์ บาซัค. (2540). จารึกอโศก. (พระธรรมปิฎก, แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
เอ.พี. เดอ ซอยสา. (2562). วัฒนธรรมอินเดียสมัยพุทธกาล. (ส.พ.ช. แปล). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
Alexander Cunningham. (1854). The Bhilsa Topes or Buddhist Monuments of Central India: Comprising a Brief Historical Sketch of the Rise, Progress and Decline of Buddhism. London: Smith, Elder.
E.W. Adikaram. (1953). Early History of Buddhism in Ceylon. (2nd Ed.). Columbo: M.D. Gunasena Co., Ltd.