การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
คำสำคัญ:
การใช้อำนาจ, ผู้บริหารสถานศึกษา, การปฏิบัติงานของครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของครู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู 4) เพื่อศึกษารูปแบบการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 332 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นด้านการใช้อำนาจของผู้บริหารและด้านการปฏิบัติงานของครู เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัยพบว่า
1) การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการใช้อำนาจเชี่ยวชาญค่าเฉลี่ยสูงสุดและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการใช้อำนาจการให้รางวัล
2) การปฏิบัติงานของครู โดยในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติงานของครูที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและด้านการจัดการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครู ภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู คือ ด้านการใช้อำนาจเชี่ยวชาญ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยทำนายได้ร้อยละ 7 สามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 5.199 +(-0.137X5) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน =
(-0.269X5)
References
กาญจนา เกสร. (2555). รูปแบบการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เกตุสุรินทร์ ปกิรณะ. (2556). การใช้อำนาจที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
เขมทัศน์ ศรีจิตพิพัฒน์กุล. (2553). การนำเสนอแนวทางการเปลี่ยนแปลงการใช้อำนาจของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
งามสม ไชยวุธ. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจกับประสิทธิภาพงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
จิราภรณ์ หมอยาดี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจกับระบบบริหารทรัพยากรองค์กร (ERP) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร.
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมการใช้อำนาจ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นิภารัตน์ ป้อสีลา. (2550). การใช้อำนาจที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร.
นุตริยา จิตตารมย์. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. ใน ภาคนิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุรีวิยาสาส์น.
Cameton, K.S. & Quinn, R.E. (1990). Diagnosing and changing organizational culture : Based on the competing values framework. New York : Addison Wesley.
Denison, D.R. (1990). Corporate culture and organizational effectiveness. New York : John Wiley.