แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ปวิดา จันทะขาล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ภัธภร หลั่งประยูร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ธีระวัฒน์ มอนไธสง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา และ 2) นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายงบประมาณ หัวหน้างานงบประมาณ และครูผู้ปฏิบัติงานด้านงบประมาณจำนวน 116 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามขนาดโรงเรียน โดยใช้วิธีเทียบสัดส่วนจำนวนผู้บริหารสถานศึกษาและครูแต่ละสถานศึกษา โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4คน ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 3 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1) สภาพปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อพบว่า ด้านส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากสุดคือ มีการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการตรวจสอบติดตามการใช้เงินและผลการดำเนินงาน รองลงมา คือ มีการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ด้านส่วนชุดคำสั่ง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด คือ มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการเบิกจ่ายและการอนุมัติงบประมาณ รองลงมา คือ มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการควบคุมดูแลบำรุง รักษา และจำหน่ายพัสดุ ด้านส่วนบุคลากร ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด คือ สถานศึกษามีเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรในการประมาณการ           ทรัพยากรที่จำเป็นและจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม(=4.79) รองลงมา คือ สถานศึกษามีเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรในการประเมินผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน(=4.67)

2) แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย 3 ด้าน 42 รายการ ปฏิบัติ ดังนี้

ด้านที่ 1 ด้านส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ มี 14 รายการ เช่น การจัดอบรมให้บุคลากรหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานบริหารงบประมาณให้มีความรู้ทางการการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขณะที่มีการปฏิบัติงาน หากผู้ใช้มีความรู้พื้นฐานในการใช้งาน ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 ด้านที่ 2 ด้านส่วนชุดคำสั่ง มี 14 รายการ เช่น สถานศึกษาควรมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลด้วยโปรแกรม เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ตรงตามความต้องการและทำให้บุคลากรที่รับผิดชอบในการบริหารงานงบประมาณสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว

ด้านที่ 3 ด้านส่วนบุคลากร มี 14 รายการ เช่น การจัดให้มีการสัมนาเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงานกับโรงเรียนที่มีการบริหารงานงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำมาปรับใช้กับการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาของตนเอง

References

กรีฑาพล แสนคำ. (2561). ปัญหาและแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. ในวิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

เกริกฤทธิ์ พ่วงสมจิตร. (2555). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เขมจิรา อยู่เจริญ และกัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์. (2566). การใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ฐิรกานต์ กองคำ.(2555). การดำเนินการบริหารงบประมาณสถานศึกษาในเครือข่ายสายเหนือสัมพันธ์เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เบญจา ศิริผล. (2557). รูปแบบการบริหารงบประมาณและสินทรัพย์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วราภรณ์ แป้นแจ้ง,และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2561). กลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา. พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 9(2), 209-216.

วิสุนีย์ ปัญญาดง. (2566).การส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22. จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน วิทยานิพนธ์ สังคมศาสตร์และศิลปะศาสตร์. มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่.

สาธิมา ชลศิริ. (2558). การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการคลังและพัสดุในสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัย/สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์มหาวิทยาเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ, 8(1), 145-153.

อภิญญา ธงไชย. (2550). การวิเคราะห์และพัฒนาระเบียบควบคุมฎีกาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน คณะมนุษศาสตร์ ทหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ใน การค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23