พุทธบริบาลเชิงนวัตกรรม

ผู้แต่ง

  • พระมหาธวัชชัย อชิโต (ซ้ายเกลี้ยง) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช
  • พระมหาลือศักดิ์ รุจิตธมฺโม (สุขชาญ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช
  • พระครูบวรชัยวัฒน์ (วันชัย เลือดไทย) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช

คำสำคัญ:

พุทธบริบาล, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องพุทธบริบาลเชิงนวัตถกรรม ซึ่งในยุคสมัยที่เทคโนโลยีก้าวหน้าและการแพทย์เจริญรุ่งเรือง ความท้าทายในการดูแลผู้ป่วยไม่ได้จำกัดอยู่แค่การรักษาโรคทางกายอีกต่อไป การดูแลจิตใจและจิตวิญญาณของผู้ป่วยกลับมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะในสังคมที่ความเชื่อทางศาสนายังคงมีบทบาทสำคัญ การผสมผสานระหว่างหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา มาประยุกต์ใช้ในด้านการดูแลและบริการสุขภาพ โดยเน้นการพัฒนานวัตกรรมที่ดูแลสุขภาพ ที่สอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งครอบคลุมถึงการดูแลร่างกายและจิตใจ รวมถึงการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ป่วย และการดูแลผู้ป่วยในยุคดิจิทัลจึงกลายเป็นแนวทางที่น่าสนใจภายใต้แนวคิด "พุทธบริบาลเชิงนวัตกรรม" ในบริบทของการดูแลผู้ป่วยโดยพระภิกษุ ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า  พระบริบาลหรือพระคิลานุปัฏฐาก คือการนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาผสานกับวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการดูแลสุขภาพจิตและกาย ในภิกษุผู้อาพาธ (ผู้ป่วย) ฟื้นตัวจากโรคและกลับมามีสุขภาพดีพร้อมที่จะปฏิบัติธรรม และเป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณให้กับสังคมต่อไปและเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชมและสังคม โดยก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างวัดกับชุมชน ทำให้พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชมเข้มแข็งต่อไปในอนาคต

References

บุญช่วย สิรินฺธโร และคณะ. (2560). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

ปาริชาติ เปรมวิชัย. (2556). นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพโดยใช้หลักพุทธธรรม. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6 (3).

พระกิตติญาณเมธี (สมเกียรติ รามัญวงศ์) และคณะ. (2561). การส่งเสริมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดลพบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์.

พระครูพิพิธสุตาทร (บุญช่วย สิรินฺธโร) และคณะ, (2560). ความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าในสังคมวัฒนธรรมล้านนา. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: หจก.ธนุชพริ้นติ้ง.

. (2550). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556).พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. (พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพมหานคร: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแหงชาติ (สช.). (2560). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส จํากัด.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือแนวทางการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด - อสว.). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Kim, S. J., Park, H. S., & Cho, J. M. (2022). Processed food consumption and colorectal cancer risk: A population-based study. International Journal of Cancer Research, 58(1), 89-101. https://doi.org/10.1002/ijc.3321

Rossi, A., Del Vecchio, R., & Caruso, G. (2023). Dietary fat and sugar intake and cardiovascular disease risk in European populations: A systematic review and meta-analysis. European Journal of Nutrition, 62(4), 1503-1519. https://doi.org/10.1007/s00394-023-0591-0

Schmidt, T., Meyer, S., & Braun, M. (2022). Processed food consumption and colorectal cancer risk: Evidence from European cohort studies. International Journal of Cancer Prevention, 31(2), 213-225. https://doi.org/10.1002/ijcp.3310

Zhang, Y., Wang, X., & Liu, H. (2021). Dietary fat and sugar intake and the risk of cardiovascular disease: A meta-analysis. Journal of Clinical Nutrition, 44(2), 123-136. https://doi.org/10.1016/j.jcn.2021.1234

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30