ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1

ผู้แต่ง

  • ธัญญ์วรัท ภัทร์นันตชัย มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนพลอยสิริ สิริบรรสพ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ตามความคิดเห็นของครูจำแนกตามวุฒิการศึกษา และขนาดโรงเรียน กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของอับเบน และฮิวส์  ประเภทของการวิจัยเป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ  ครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1                ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,140 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1  ปีการศึกษา 2566 จำนวน 291 คน โดยได้มาจากวิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้แผนการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

          ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน  โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยมากสุด และด้านส่งเสริมบรรยากาศการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษา และปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กาญจน์ เรืองมนตรี. (2548). ทฤษฎีผู้นำ. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ขวัญใจ ขุนทำนาย. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ในกลุ่มการศึกษาที่ 9. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

จักรกฤษ วงษ์ชาลี. (2551). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ไชยา กรมแสง. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

เทอดศักดิ์ ไชยสมปาน. (2558). ปัญหาการศึกษาไทยและแนวทางการแก้ไข. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2567 จาก

https://www.gotoknow.org/posts/409185.

ปฐม ปริปุนณังกูร. (2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พัชราภรณ์ จันทพล. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. ใน สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิเชียร วิทยอุดม. (2550). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

วิภาภรณ์ อินทรกลาง. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. ใน สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกัน คุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

อันธิยา ภูมิไธสง. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. ใน สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970, Autumn). Determining Sample Size for Research Activities. Eductional and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29