การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วน ตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ภัทราวุฒิ ศิลาคม วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • โกศล สอดส่อง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, หลักธรรมาภิบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลถ่อนนาลับ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลถ่อนนาลับ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลถ่อนนาลับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลถ่อนนาลับ จำนวน 373 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่าที และใช้สถิติเอฟ

 

 

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.94) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านหลักคุณธรรม ( = 4.26) รองลงมาคือด้านหลักความโปร่งใส  ( = 4.08) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านหลักความรับผิดชอบ ( = 3.74)
  2. การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพ โดยภาพรวมพบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง ไม่แตกต่างกัน
  3. ผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่ององค์กรจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ในการออกข้อกฎหมาย/ข้อบังคับที่เป็นผลบังคับใช้กับชุมชน

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

กมลพรรณ พึ่งด้วง. (2560). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. ใน ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิชัยรัฐ หมื่นด้วง. (2561). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารงานท้องถิ่นเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู อำเภอเมืองหนอง จังหวัดหนองบัวลำภู. บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยพิชยบัณฑิต.

ภมร วงษ์ศรีจันทร์. (2559). การบริหารจัดการตามหลักธรรมภิบาลของเทศบาลตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีประทุม.

วีระ หาญกัน, สุวรัฐ แลสันกลาง. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 16(1), 53-67.

ประสิทธิชัย โสดาวิชิต. (2558). พฤติกรรมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม.สกลนคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549). สำนักนายกรัฐมนตรี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29