การบูรณาการหลักธรรมอิทธิบาท 4 และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พระปลัดมนู ฐานจาโร (ช่วยคิด) มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

อิทธิบาท 4, การบริหารกิจการบ้านเมือง, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลของเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี 2) วิเคราะห์การบูรณาการหลักธรรมอิทธิบาท 4 และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิผลองค์การของเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการแข่งขัน-คุณค่า
เชิงระบบ ด้านการบรรลุเป้าหมาย และ ด้านเชิงกลยุทธ์-เฉพาะส่วน ตามลำดับ 2) การบูรณาการหลักธรรมอิทธิบาท 4 และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี หลักวิริยะ หลักมุ่งเน้นฉันทามติ หลักความโปร่งใส และหลักวิมังสา ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี โดยนำหลักธรรมอิทธิบาท 4 มาใช้ในการดำเนินงานควบคู่กับการนำหลักการจัดการบ้านเมืองที่ดีในด้านความโปร่งใสและด้านมุ่งเน้นฉันทามติ เพื่อในการดำเนินงานนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างเป็นรูปธรรมและเชิงประจักษ์

References

องกาญจน์ พฤฒิพฤกษ์. (2565). อิทธิบาท 4 ของผู้บริหารและพนักงานที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินกิจการ กรณีศึกษา : บริษัท สตาร์มาร์คแมนูแฟคเชอร์ริ่ง จำกัด จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กิตติวัฒน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2553). คู่มือศึกษาพื้นฐานวิชากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน (กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการ และมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

บุญทัน ดอกไธสง. (2551). การจัดการทุนมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ตะวัน.

พระครูอุทัยสุตกิจ. (2558). ความสำเร็จของการบริหารงานตามหลักอิทธิบาทสี่ของพระสงฆ์ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20(2), 161-171.

ผอบทอง สุจินพรัหม. (2556). การนำหลักธรรมอิทธิบาท 4 มาใช้ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทรรศนะของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 5(2), 101-111.

สัมฤทธิ์ สุขสงค์. (2555). ประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพันธ์ แสนสี. (2558). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการยริหารจัดการโรงเรียนกีฬาจังหวัดขอนแก่น มัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย. (2550). หลักการบริหารการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29