ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูปฐมวัย ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตตรวจราชการที่ 5

ผู้แต่ง

  • ยุพาพรรณ ชูชาติ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ทิพมาศ เศวตวรโชติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้, สมรรถนะครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21, ครูปฐมวัย

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้มรรถนะครูปฐมวัย ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตตรวจราชการที่ 5 และ 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตวามสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้สมรรถนะครูปฐมวัย ในศตวรรษที่  21 ในเขตตรวจราชการที่ 5 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อถือ 0.988 จากประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูปฐมวัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตตรวจราชการที่ 5 จำนวน 2,943 คน ใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวนรวมทั้งสิ้น 740 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิงโดยใช้โปรแกรมเอ-มอส

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูปฐมวัย ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตตรวจราชการที่ 5 มี 4 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อย และ 75 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบสมรรถนะด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มี 3 องค์ประกอบย่อย 19 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบสมรรถนะด้านคุณธรรมและจริยธรรม          มี 4 องค์ประกอบย่อย 19 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเอง มี 4 องค์ประกอบย่อย 24 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยี ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย 13 ตัวบ่งชี้
  2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้สมรรถนะครูปฐมวัย ในศตวรรษที่ 21 ในเขตตรวจราชการที่ 5 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก พิจารณาจากค่า  เท่ากับ 24.247 df เท่ากับ 22 ค่า P-value เท่ากับ 0.334 และ GFI เท่ากับ 0.995 AGFI เท่ากับ 0.978 และ RMSEA เท่ากับ 0.012 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

References

กมลวรรณ พลับจีน และวรรณี แกมเกตุ. (2560). การวิเคราะห์กลุ่มแฝงอัตลักษณ์เชิงวิชาชีพครู. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. OJED, 12(1), 1-18.

กุญช์ภัสส์ พงษ์พานิชย์. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 1-12.

ฐกร พฤฒิปูรณี. (2564). การพัฒนาสมรรถนะครูในช่วงยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันธิยา ไทยสมบูรณ์. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการสอนของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนชายแดนใต้. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Bailey,J.S.,& Burth, M.R. (2011). Ethics for Behavior Analysts. 2nd ed. New York: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30