ตัวบ่งชี้ความสำเร็จการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ อนุพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สันติ อุนจะนำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ทิพมาศ เศวตวรโชติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้, ความสำเร็จการบริหารสถานศึกษา, สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้ความสำเร็จการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ความสำเร็จการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการกองการศึกษาหรือผู้ที่รับผิดชอบดูแลงานการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และครูโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 780 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วนใช้หลักการทางสถิติ วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Factor Analysis ในรูปแบบของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale)

ผลการศึกษา พบว่า

  1. ตัวบ่งชี้ความสำเร็จการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มี 4 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย 62 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร มี 4 องค์ประกอบย่อย 17 ตัวบ่งชี้ 2) วัฒนธรรมองค์กร มี 4 องค์ประกอบย่อย 18 ตัวบ่งชี้ 3) ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี มี 4 องค์ประกอบย่อย 18 ตัวบ่งชี้ 4) วิสัยทัศน์ มี 3 องค์ประกอบย่อย 9 ตัวบ่งชี้
  2. โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก พิจารณาจากค่า เท่ากับ 7.555 ค่า df เท่ากับ 4 ค่า P-value เท่ากับ 0.109 ค่า GFI เท่ากับ 0.999 ค่า AGFI เท่ากับ0.962 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.033 และน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ทั้ง 4 องค์ประกอบมีค่าเป็นบวกตั้งแต่ 0.88 -1.00 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า

References

เกริกไกร แซ่เลี้ยว และกนกกร ศิริสุข. (2566). ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารทัศนมิติทางการศึกษา, 1(2), 16-30.

ไกรยศ ภัทราวาท. (2558). รีเซ็ทการศึกษาท้องถิ่นเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม.จัดพิมพ์โดยสถาบันพระปกเกล้า. พิมพ์ที่ ส เจริญ การพิมพ์. หน้า 8

จิตรกร จันทร์สุข และจีรนันท์ วัชรกุล. (2564). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 36-49.

ธิดา กมลรุ่งเรือง. (2560). การพัฒนาขีดความสามารถด้านภาวะผู้นำกับการปฏิรูปการศึกษา ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(3), 97.

ณัฏฐณิชา โคทังคะ. (2561). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฐภัทร์ ขิงโพธิ์. (2562). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารชุมชนวิจัย, 13 (1), 150

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพรินทร์ สุบินรัตน์ และพิมพ์อร สดเอี่ยม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของ ผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. อินทนิลทักษิณสาร, 13(ฉบับพิเศษ), 67-82.

พรรณวดี ปามุทา. (2559). ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสยาม.

สายชน แพงมา, อุดมพันธุ์ พิชญ์ประเสริฐ, พงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง. (2564). การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 122-136.

สำนักวิชาการ, (2561), เอกสารวิชาการ บทบัญญัติด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2567 จาก https://www.dla.go.th/index.jsp

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30