การบริหารจัดการโครงการห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
คำสำคัญ:
ผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลการบริหารจัดการ, โครงการห้องเรียนพิเศษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโครงการห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการโครงการห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 297 คน ใช้การสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67-1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD
ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการโครงการห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านผลลัพธ์ และ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการโครงการห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำแนกตามเพศ และระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุและประสบการณ์การทำงานต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นด้านกระบวนการ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
กมลวรรณ คุณาสวัสดิ์. (2561). แนวทางการบริหารและการจัดการแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยะพรพิทยา. ใน การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
กฤษฎา เจริญวัย. (2564). การบริหารจัดการการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชยพล พานิชเลิศ. (2564). การเตรียมผู้เรียนสำหรับการศึกษาต่อและการพัฒนาทักษะชีวิตในสังคมปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
นัฐนิตย์ วงษ์สันต์. (2564). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูต่อการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษ MEP สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(2), 108-117.
ประยงค์ ศรีโทมี. (2561). การบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระปลัดสมควร ปญฺญาวชิโร (ปลื้มสุด). (2561). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา: บทบาทของผู้บริหารในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยเทคนิคการใช้ SPSS (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สิริกานต์ ทิพย์ภักดี และทวีศิลป์ กุลนภาดล. (2565). การบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของจังหวัดอ่างทอง. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 19(36), 39-51.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2565). รายงานการเปิดโครงการห้องเรียนพิเศษในโรงเรียน. นนทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กลุ่มนโยบายและแผน: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.
Brennan, J., & Osborne, M. (2008). Higher Education’s Many Diversities: of Students, Institutions and Experiences, and Outcomes?. Research Papers in Education, 23, 179-190.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Evertson, C. M., & Weinstein, C. S. (Eds.). (2006). Handbook of classroom management: Research, practice, and contemporary issues. New York: Routledge.
Dorman, J. P. (2003). Relationship between school and classroom environment and teacher burnout: A LISREL analysis. Social Psychology of Education. (6),107–127.