ภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงบารมี, การปฏิบัติงานของครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 317 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูป Krejcie and Morgan (1970 : 607 – 610) และสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2) การปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3) ภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาด้านมีทักษะการสื่อสารยอดเยี่ยม มีวิสัยทัศน์ ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา คิดเป็นร้อยละ 11.10 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ = 3.753 + 0.082 (X1) + 0.123 (X4) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ = 0.164X1 + 0.317X4
References
กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา. (2560). ภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต1.
อารีรัตน์ จีนแส. (2562). ภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา บริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.
วิศรุต มาเจริญ. (2563). รูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค.: มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย
ผจญ งามมานะ. (2560). สภาพการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. ใน การค้นคว้าอิสระ ค.ม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
พรศักดิ์ ทรัพย์สมบัติ. (2560). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). กฎ ก.ค.ศ. การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2561. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
วรรณนิภา วงศสวาสดิ์. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรลักษณ์ สุธาเนตร. (2559). การศึกษาการจัดการชั้นเรียนแบบครูประจำชั้นเพียงคนเดียวในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาสนา พิทักษ์. (2562). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นสำหรับโรงเรียน สังกัดเทศบาล นครอุดรธานี. ใน วิทยานิพนธ์ กศ.ม.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.